Page 245 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 245
เนื้อหาของอนุสัญญานี้มี ๒ ส่วน ๓๐ ข้อ ส่วนแรก (ข้อ ๑-๑๖) เป็นสารบัญญัติว่าด้วยสิทธิต่าง ๆ ของสตรี
การขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี รวมทั้งการประกันว่าสตรีและบุรุษมีสิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติ และดูแลจากรัฐอย่างเสมอภาคกัน
โดยรัฐภาคีมีพันธกรณีส�าคัญที่จะต้องก�าหนดมาตรการ เพื่อสร้างความเท่าเทียมกันระหว่างบุรุษและสตรี ปรับรูปแบบทางสังคมและ
วัฒนธรรมเพื่อให้เอื้อต่อการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี ปราบปรามการลักลอบค้าและแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากสตรี ประกัน
ความเท่าเทียมกันระหว่างบุรุษและสตรีในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการด�ารงชีวิตทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ เช่น
สิทธิในการเลือกตั้ง การสนับสนุนให้ด�ารงต�าแหน่งที่ส�าคัญ ความเท่าเทียมกันในกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ และการศึกษา การได้รับ
โอกาสในการจ้างงานที่เท่าเทียมกัน การป้องกันความรุนแรงต่อสตรีในสถานที่ท�างาน ความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงบริการด้าน
สุขภาพ การประกันความเป็นอิสระด้านการเงินและความมั่นคง ด้านสังคมและการให้ความส�าคัญแก่สตรีในชนบท ความเท่าเทียมกัน
ทางกฎหมาย โดยเฉพาะในด้านกฎหมาย แพ่ง และกฎหมายครอบครัว ซึ่งเป็นการประกันความเท่าเทียมกันในชีวิตส่วนบุคคล ส่วนที่
๒ (ข้อ ๑๗-๓๐) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดตั้งและการด�าเนินงานของคณะกรรมการ การเสนอรายงาน ผลกระทบของอนุสัญญา และ
การก�าหนดมาตรการที่จ�าเป็น การลงนามเข้าเป็นภาคี การมีผลบังคับใช้ การแก้ไข การตั้งข้อสงวน และ การระงับข้อพิพาท
อนุสัญญาฯ มีพิธีสารเลือกรับ ๑ ฉบับเป็นเรื่องเกี่ยวกับการรับเรื่องร้องเรียน ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชีย
และประเทศที่ ๕ ในโลกที่ให้สัตยาบันต่อพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาฯ นับเป็น ๑ ใน ๑๐ ประเทศแรกที่ท�าให้พิธีสารเลือกรับ ฯ
มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๔๓ พิธีสารเลือกรับฯ เป็นกระบวนการช่วยในการคุ้มครองสิทธิสตรีโดยเปิดโอกาส
ให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลในประเทศที่เป็นภาคี พิธีสารฯ เสนอข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิสตรีต่อคณะกรรมการว่าด้วย
การขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี และเปิดโอกาสให้คณะกรรมการเข้ามาไต่สวนได้ โดยมีเงื่อนไขว่าเรื่องดังกล่าวได้ด�าเนินการ
โดยกระบวนการ แก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศจนหมดสิ้นแล้ว หรือมีเหตุผลว่ากลไกในประเทศด�าเนินการล่าช้า
กว่าปกติ นอกจากนั้น ยังต้องได้รับความยินยอมจากรัฐบาลของประเทศนั้นก่อนด้วย อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีกรณีร้องเรียน
ของประเทศไทยไปยังคณะกรรมการว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีแต่อย่างใด
๒.๖ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child : CRC)
ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติ และมีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๓๕ โดยปัจจุบัน
คงเหลือข้อสงวน ๑ ข้อ คือ ข้อ ๒๒ การดูแลกลุ่มเด็กซึ่งเป็นผู้หนีภัยฯ ให้เป็นไปอย่างสอดคล้องกับกฎหมาย กฎระเบียบ และ
แนวปฏิบัติในประเทศ
เนื้อหาของอนุสัญญาฉบับนี้มี ๓ ส่วน ๕๔ ข้อ ส่วนแรก (ข้อ ๑-๔๑) เป็นสารบัญญัติว่าด้วยสิทธิต่าง ๆ ของเด็ก
ประกอบด้วยความหมายของ “เด็ก” การประกันสิทธิพื้นฐานของรัฐภาคีต่อเด็กในเขต อ�านาจของตนบนสิทธิพื้นฐาน ๔
ประการคือ สิทธิที่จะมีชีวิต สิทธิที่จะได้รับการปกป้อง สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา และสิทธิที่จะมีส่วนร่วมการไม่เลือกปฏิบัติ
การค�านึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็ก การเคารพต่อความรับผิดชอบและสิทธิหน้าที่ของบิดามารดา ครอบครัว และสภาพสังคม
ของเด็ก การประกันสิทธิที่จะมีชีวิต การมีชื่อมีสัญชาติเอกลักษณ์ การอยู่ร่วมกันระหว่างเด็กกับบิดามารดาและครอบครัว
และการรักษาความสัมพันธ์ระหว่างกัน สิทธิเสรีภาพของเด็กในการแสดงความคิดเห็น การแสดงออก การแสวงหา/ได้รับข้อมูลข่าวสาร
ความคิด มโนธรรม ศาสนา การสมาคม ความเป็นส่วนตัว การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจากสื่อ และการคุ้มครองจากข้อมูลข่าวสาร
ที่เป็นอันตราย การช่วยเหลือบิดามารดาผู้ปกครองให้สามารถเลี้ยงดูเด็กได้ การคุ้มครองจากความรุนแรงทั้งปวง การดูแลทางเลือก
ส�าหรับเด็ก การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม การร้องขอสถานะผู้ลี้ภัย การดูแลเด็กพิการ การดูแลสุขภาพ และการสาธารณสุข
ส�าหรับเด็กและมารดา การประกันสังคม การได้รับมาตรฐาน การด�ารงชีวิตที่เพียงพอ การศึกษา การพัฒนาบุคลิกภาพ
การยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม นันทนาการ การคุ้มครองจากการถูกแสวงประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ยาเสพติด
ทางเพศ การลักพา ขาย ค้าเด็ก การคุ้มครองจากการแสวงประโยชน์ทุกรูปแบบ การถูกทรมานหรือลงโทษที่โหดร้าย
ไร้มนุษยธรรม การพิพาทด้วยอาวุธ การฟื้นฟูจิตใจ และการกลับคืนสู่สังคม การคุ้มครองเด็กที่ต้องประสบปัญหาด้านกฎหมาย และ
ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และผลกระทบของอนุสัญญานี้ต่อกฎหมายเดิมที่มีอยู่ ส่วนที่ ๒ (ข้อ ๔๒ - ๔๕) ว่าด้วยการเผยแพร่
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 244 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙