Page 239 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 239

๑.  หลักการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย                 ๕๑๔


        ๑.๑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช ๒๕๕๗

                 มาตรา ๔ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคบรรดา
        ที่ชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง
        เป็นประมุขและตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้


        ๑.๒ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ (แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๕๕๔)

                 มาตรา ๔ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง



                 มาตรา ๕ ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่าก�าเนิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน


                 มาตรา ๒๖ การใช้อ�านาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องค�านึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพตาม
        บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้



                 มาตรา ๒๘ บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพ
        ของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน
                 บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อใช้สิทธิ

        ทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้
                 บุคคลย่อมสามารถใช้สิทธิทางศาลเพื่อบังคับให้รัฐต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในหมวดนี้ได้โดยตรงหากการใช้สิทธิ
        และเสรีภาพในเรื่องใดมีกฎหมายบัญญัติรายละเอียดแห่งการใช้สิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้แล้ว ให้การใช้
        สิทธิและเสรีภาพในเรื่องนั้นเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
                 บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการส่งเสริมสนับสนุนและช่วยเหลือจากรัฐในการใช้สิทธิตามความในหมวดนี้



                 มาตรา ๒๙ การจ�ากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ จะกระท�ามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอ�านาจ
        ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้ก�าหนดไว้และเท่าที่จ�าเป็น และจะกระทบกระเทือนสาระส�าคัญ

        แห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้
                 กฎหมายตามวรรคหนึ่งต้องมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป และไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคล
        ใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง ทั้งต้องระบุบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ให้อ�านาจในการตรากฎหมายนั้นด้วย
                 บทบัญญัติวรรคหนึ่งและวรรคสองให้น�ามาใช้บังคับกับกฎหรือข้อบังคับที่ออกโดยอาศัยอ�านาจตามบทบัญญัติแห่ง
        กฎหมายด้วยโดยอนุโลม



                 มาตรา ๓๐ บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิ
        เท่าเทียมกัน

                 การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นก�าเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ
        สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความ
        คิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระท�ามิได้


                 ๕๑๔  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๐ โดยที่ในการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศ ปี
        ๒๕๕๙ (ช่วงเวลา ๑ ม.ค. - ๓๑ ธ.ค. ๒๕๕๙) จะอ้างอิงหลักการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่มีผลบังคับอยู่ในช่วงเวลาขณะนั้น คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
        (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗


                                 รายงานผลการประเมินสถานการณ์  238  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   234   235   236   237   238   239   240   241   242   243   244