Page 242 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 242

มาตรา ๖๑  สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองในการได้รับข้อมูลที่เป็นความจริง และมีสิทธิ
            ร้องเรียนเพื่อให้ได้รับการแก้ไขเยียวยาความเสียหาย รวมทั้งมีสิทธิรวมตัวกันเพื่อพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค

                     ให้มีองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภค ท�าหน้าที่
            ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐในการตราและการบังคับใช้กฎหมายและกฎ และให้ความเห็นใน
            การก�าหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภครวมทั้งตรวจสอบและรายงานการกระท�าหรือละเลยการกระท�าอันเป็นการ
            คุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ ให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการด�าเนินการขององค์การอิสระดังกล่าวด้วย



                     มาตรา ๖๒ บุคคลย่อมมีสิทธิติดตามและร้องขอให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ด�ารงต�าแหน่งทางการเมือง    ภาคผนวก
            หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ
                     บุคคลซึ่งให้ข้อมูลโดยสุจริตแก่องค์กรตรวจสอบการใช้อ�านาจรัฐหรือหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของ

            ผู้ด�ารงต�าแหน่งทางการเมือง หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐย่อมได้รับความคุ้มครอง


                     มาตรา ๖๓ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ
                     การจ�ากัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระท�ามิได้เว้นแต่โดยอาศัยอ�านาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะในกรณี
            การชุมนุมสาธารณะและเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะหรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยใน

            ระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก


                     มาตรา ๖๔ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์กลุ่มเกษตรกร องค์ การเอกชน

            องค์การพัฒนาเอกชน หรือหมู่คณะอื่น
                     ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐย่อมมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป แต่ทั้งนี้ต้องไม่กระทบ
            ประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินและความต่อเนื่องในการจัดท�าบริการสาธารณะ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
                     การจ�ากัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง จะกระท�ามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอ�านาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
            เฉพาะเพื่อคุ้มครองประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อ

            ป้องกันมิให้มีการผูกขาดตัดตอนในทางเศรษฐกิจ


                     มาตรา ๖๕  บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมืองเพื่อสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองของประชาชน

            และเพื่อด�าเนินกิจกรรมในทางการเมืองให้เป็นไปตามเจตนารมณ์นั้น ตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระ
            มหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้
                     การจัดองค์กรภายใน การด�าเนินกิจการ และข้อบังคับของพรรคการเมืองต้องสอดคล้องกับหลักการพื้นฐานแห่งการ
            ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
                     สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง กรรมการบริหารของพรรคการเมือง หรือสมาชิก

            พรรคการเมืองตามจ�านวนที่ก�าหนดในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ซึ่งเห็นว่ามติหรือข้อบังคับ
            ในเรื่องใดของพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิกอยู่นั้นจะขัดต่อสถานะและการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตาม
            รัฐธรรมนูญนี้ หรือขัดหรือแย้งกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

            มีสิทธิร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
                     ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามติหรือข้อบังคับดังกล่าวขัดหรือแย้งกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบ
            ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ให้มติหรือข้อบังคับนั้นเป็นอันยกเลิกไป


                     นอกจากนั้นใน หมวด ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ยังบัญญัติว่า

                     มาตรา ๗๕ บทบัญญัติในหมวดนี้เป็นเจตจ�านงให้รัฐด�าเนินการตรากฎหมายและก�าหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน


                                     รายงานผลการประเมินสถานการณ์  241  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   237   238   239   240   241   242   243   244   245   246   247