Page 246 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 246

อนุสัญญา คณะกรรมการว่าด้วยสิทธิเด็ก การเสนอรายงาน การส่งเสริมการปฏิบัติตามอนุสัญญาอย่างมีประสิทธิภาพด้วยความร่วม
            มือระหว่างประเทศ ส่วนที่ ๓ (ข้อ ๔๖ - ๕๔) ว่าด้วยการลงนามเข้าเป็นภาคี การมีผลบังคับใช้ การแก้ไข การตั้งและการถอนข้อสงวน



                     นอกจากนี้ ไทยได้เข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาสิทธิเด็กจ�านวน ๓ ฉบับได้แก่ (๑)  เรื่องความเกี่ยวพันของเด็กในความ
            ขัดแย้งกันทางก�าลังอาวุธ (Optional Protocol to the Convention on the Rights of the Child on the involvement of children
            in armed conflict.) (๒)  เรื่องการขายเด็กการค้าประเวณีเด็กและสื่อลามกที่เกี่ยวกับเด็ก (Optional Protocol to the Convention
            on the Rights of the Child on the sale of children, child prostitution and child pornography) และ (๓) เรื่องกระบวนการ

            ติดต่อร้องเรียน (Optional Protocol to the Convention on the Rights of the Child on a communications procedure.)  ภาคผนวก


            ๒.๗ อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฎิบัติต่อเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the
            Elimination of All Forms of Racial Discrimination : CERD)

                     ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติ และมีผลใช้บังคับ ตั้งแต่ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ โดยท�าค�าแถลงตีความ
            ๑ ข้อ เกี่ยวกับเรื่องการบังคับใช้ภายในประเทศต้องสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชน
            ระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี และได้ท�าข้อสงวนไว้ ๒ ข้อ ได้แก่ ข้อ ๔ ในเรื่องการด�าเนินมาตรการขจัดการเลือกปฏิบัติเท่าที่จ�าเป็น
            และ ข้อ ๒๒ ในเรื่องการระงับข้อพิพาทโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ



                     เนื้อหาของอนุสัญญามี ๓ ส่วน ๒๕ ข้อ ส่วนแรก (ข้อ ๑-๗) เป็นสารบัญญัติว่าด้วยสิทธิต่าง ๆ โดยก�าหนดความหมายของ
            “การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ” การตีความและมาตรการพิเศษที่จัดขึ้นตามความจ�าเป็นด้วยเจตนาเพื่อประกันความก้าวหน้าของหมู่ชน

            บางกลุ่มที่ต้องการความคุ้มครองและสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน การประณามการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติและการประกันการไม่เลือก
            ปฏิบัติต่อบุคคล กลุ่ม หรือสถาบัน หรือสนับสนุนการเลือกปฏิบัติเหล่านี้ การด�าเนินมาตรการที่จะแก้ไขกฎระเบียบที่ก่อให้เกิดการ
            เลือกปฏิบัติด้วยวิธีการที่เหมาะสมและสนับสนุนการประสานเชื้อชาติเข้าด้วยกัน การจัดให้มีมาตรการพิเศษชั่วคราวเพื่อสนับสนุน
            การคุ้มครองกลุ่มบุคคลบางกลุ่ม เพื่อให้ได้รับสิทธิเสรีภาพอย่างเสมอภาค การประณามการแบ่งแยกทางเชื้อชาติ ผิว การโฆษณาชวนเชื่อ
            ในเรื่องความเหนือกว่าของบางชนกลุ่ม การเกลียดชังระหว่างเชื้อชาติ การลงโทษตามกฎหมายแก่การกระท�าที่ประณามเหล่านี้

            และห้ามการด�าเนินการส่งเสริมกระตุ้นการเลือกปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ของรัฐ การประกันสิทธิของทุกคนให้เสมอภาคกันตามกฎหมาย
            ภายใต้ศาลและกระบวนการยุติธรรม การคุ้มครองของรัฐ การใช้สิทธิอย่างทั่วถึงและเสมอภาคในทางการเมือง กิจกรรมสาธารณะ
            และบริการสาธารณะ สิทธิของพลเมืองในเรื่องต่าง ๆ ทุกเรื่อง เช่น การมีถิ่นพ�านัก การครองสัญชาติ การสมรสและเลือกคู่สมรส

            การรับมรดก สิทธิเสรีภาพทางความคิดเห็น การนับถือศาสนา การชุมนุม สิทธิทางเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมต่าง ๆ ทั้งในด้านการท�างาน
            ที่อยู่อาศัย การสาธารณสุข การศึกษา กิจกรรมทางวัฒนธรรม และบริการต่าง ๆ และการประกันสิทธิของรัฐที่จะให้ความคุ้มครองแก่
            ทุกคนในอาณาเขตจากการเลือกปฏิบัติเหล่านี้รวมถึงสิทธิที่จะร้องขอค่าทดแทนจากศาลเพื่อชดใช้ความเสียหายอันเป็นผลจากการเลือก
            ปฏิบัติเหล่านี้ส่วนที่ ๒ (ข้อ ๗-๑๖) ว่าด้วยคณะกรรมการ การเสนอรายงาน การรับข้อร้องเรียนระหว่างรัฐ การด�าเนินการ การไกล่เกลี่ย
            และการยุติข้อพิพาทของคณะกรรมการ และส่วนที่ ๓ (ข้อ ๑๗-๒๕) ว่าด้วยการลงนามเข้าเป็นภาคี การมีผลบังคับใช้เงื่อนไขในการตั้ง

            ข้อสงวนและการถอนข้อสงวน การเพิกถอนอนุสัญญา และการเสนอข้อพิพาทสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ


            ๒.๘ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities : CRPD)

                     ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (CRPD) โดยการภาคยานุวัติและมีผลใช้บังคับตั้งแต่
            วันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๑ โดยท�าค�าแถลงตีความ ๑ ข้อคือการปรับใช้ข้อ ๑๘ เรื่องเสรีภาพในการโยกย้ายถิ่นฐานและสิทธิ
            ในการได้มาซึ่งสัญชาติจะต้องเป็นไปอย่างสอดคล้องกับกฎหมายกฎระเบียบและแนวปฏิบัติภายในประเทศ


                     เนื้อหาของอนุสัญญา CRPD มี ๒ ส่วน ๕๐ ข้อ ส่วนแรก (ข้อ ๑-๓๓) เกี่ยวกับเรื่องวัตถุประสงค์และหลักการทั่วไปของ

            อนุสัญญาฯ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับความเสมอภาค กลุ่มสตรี และเด็กพิการ การเสริมสร้างการตระหนักการเข้าถึงบริการต่าง ๆ


                                     รายงานผลการประเมินสถานการณ์  245  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   241   242   243   244   245   246   247   248   249   250   251