Page 241 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 241
มาตรา ๓๗ บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา และย่อมมี
เสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนธรรม ศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่
ของพลเมืองและไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ในการใช้เสรีภาพตามวรรคหนึ่ง บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองมิให้รัฐกระท�าการใด ๆ อันเป็นการรอนสิทธิหรือเสีย
ประโยชน์อันควรมีควรได้ เพราะเหตุที่ถือศาสนา นิกายของศาสนา ลัทธินิยมในทางศาสนา หรือปฏิบัติตามศาสนธรรม ศาสน
บัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือ แตกต่างจากบุคคลอื่น
มาตรา ๓๙ บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระท�าการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระท�านั้นบัญญัติเป็นความ
ผิดและก�าหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่ก�าหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระท�าความผิดมิได้
ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจ�าเลยไม่มีความผิด
ก่อนมีค�าพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระท�าความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระท�าความผิดมิได้
มาตรา ๔๒ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระท�ามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอ�านาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะ
กิจการของรัฐเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภค การอันจ�าเป็นในการป้องกันประเทศ การได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ การผังเมือง
การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การพัฒนาการเกษตรหรือการอุตสาหกรรม การปฏิรูปที่ดิน การอนุรักษ์โบราณสถาน
และแหล่งทางประวัติศาสตร์ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น และต้องชดใช้ค่าทดแทนที่เป็นธรรมภายในเวลาอันควรแก่
เจ้าของตลอดจนผู้ทรงสิทธิบรรดาที่ได้รับความเสียหายจากการเวนคืนนั้น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
การก�าหนดค่าทดแทนตามวรรคหนึ่งต้องก�าหนดให้อย่างเป็นธรรมโดยค�านึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้อง
ตลาด การได้มา สภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ ความเสียหายของผู้ถูกเวนคืนและประโยชน์ที่รัฐและผู้ถูกเวนคืนได้รับจาก
การใช้สอยอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน
กฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต้องระบุวัตถุประสงค์แห่งการเวนคืนและก�าหนดระยะเวลาการเข้าใช้
อสังหาริมทรัพย์ไว้ให้ชัดแจ้ง ถ้ามิได้ใช้เพื่อการนั้นภายในระยะเวลาที่ก�าหนดดังกล่าวต้องคืนให้เจ้าของเดิมหรือทายาท
การคืนอสังหาริมทรัพย์ให้เจ้าของเดิมหรือทายาทตามวรรคสาม และการเรียกคืนค่าทดแทนที่ชดใช้ไป ให้เป็นไป
ตามที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา ๔๔ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับหลักประกันความปลอดภัยและสวัสดิภาพในการท�างานรวมทั้งหลักประกันใน
การด�ารงชีพทั้งในระหว่างการท�างานและเมื่อพ้นภาวะการท�างานทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา ๔๗ คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์และโทรคมนาคมเป็นทรัพยากรสื่อสารของ
ชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ
ให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่งท�าหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ตามวรรคหนึ่ง และก�ากับการประกอบกิจการ
วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
การด�าเนินการตามวรรคสองต้องค�านึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่นทั้งในด้าน
การศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ ประโยชน์สาธารณะอื่น และการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม รวมทั้งต้องจัดให้
ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการด�าเนินการสื่อมวลชนสาธารณะ
การก�ากับการประกอบกิจการตามวรรคสองต้องมีมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการควบรวมการครองสิทธิข้ามสื่อ หรือ
การครอบง�า ระหว่างสื่อมวลชนด้วยกันเองหรือโดยบุคคลอื่นใด ซึ่งจะมีผลเป็นการขัดขวางเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
หรือปิดกั้นการได้รับข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายของประชาชน
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 240 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙