Page 243 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 243
ในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดินต้องชี้แจงต่อรัฐสภาให้ชัดแจ้งว่าจะ
ด�าเนินการใด ในระยะเวลาใด เพื่อบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ และต้องจัดท�ารายงาน
แสดงผลการด�าเนินการ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคเสนอต่อรัฐสภาปีละหนึ่งครั้ง
มาตรา ๗๖ คณะรัฐมนตรีต้องจัดท�าแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อแสดงมาตรการและรายละเอียดของแนวทาง
ในการปฏิบัติราชการในแต่ละปีของการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
ในการบริหารราชการแผ่นดิน คณะรัฐมนตรีต้องจัดให้มีแผนการตรากฎหมายที่จ�าเป็นต่อการด�าเนินการตามนโยบาย
และแผนการบริหารราชการแผ่นดิน
๒. สิทธิที่ได้รับการรับรองจากสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทย
เป็นภาคี
๒.๑ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant
on Civil and Political Rights : ICCPR)
ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี โดยการภาคยานุวัติและมีผลใชับังคับกับประเทศไทยใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๔๐
โดยมีการท�าค�าแถลงตีความ ๒ ประเด็น ได้แก่ (๑) เรื่องการก�าหนดเจตจ�านงของตนเอง โดยมิได้หมายรวมถึงการแบ่งแยก
ดินแดนหรือเอกภาพทางการเมือง (ข้อ ๑ วรรคหนึ่ง) และ (๒) การโฆษณาชวนเชื่อเพื่อท�าสงคราม (ข้อ ๒๐ วรรคหนึ่ง)
เนื้อหาของกติกาฉบับนี้มี ๖ ส่วน ๕๓ ข้อ ๓ ส่วนแรก (ข้อ ๑-๒๗) เป็นสารบัญญัติว่าด้วยสิทธิต่าง ๆ ส่วนที่ ๔ (ข้อ
๒๘-๔๕) ว่าด้วยคณะกรรมการและการเสนอรายงาน (ข้อ ๔๐) การไกล่เกลี่ยข้อร้องเรียนระหว่างประเทศเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติ
ตามบทบัญญัติของกติกา ส่วนที่ ๕ (ข้อ ๔๖-๔๗) ว่าด้วยการตีความและส่วนที่ ๖ (ข้อ ๔๘-๕๓) ว่าด้วยการลงนามเข้าเป็นภาคี
การมีผลใช้บังคับการแก้ไขการเก็บรักษาต้นฉบับทั้ง ๕ ภาษา ส่วนที่เป็นสารบัญญัติ ๒๗ ข้อก�าหนดสิทธิต่าง ๆ ทั้งในส่วนที่เป็น
สิทธิของประชาชน ซึ่งว่าด้วยการก�าหนดสิทธิของตนเองของประชาชนในเรื่องการเมือง และสามารถด�าเนินการอย่างเสรีในการ
จัดการทรัพยากรและพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของตน และการประกันสิทธิของรัฐภาคี ที่จะต้องส่งเสริมให้บังเกิดผล
ตามสิทธิดังกล่าว โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ สิทธิเหล่านี้รวมถึงสิทธิที่จะมีชีวิตและการยกเลิกโทษประหารชีวิต การห้ามการ
ทรมาน/ลงโทษทารุณโหดร้าย การมีทาสเสรีภาพในความปลอดภัยของร่างกาย ห้ามการจับกุมโดยมิได้ท�าผิดกฎหมาย การปฏิบัติ
ต่อผู้ถูกจับกุมด้วยมนุษยธรรม เสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่อาศัย ความเสมอภาคในด้านกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรมทางศาล
สิทธิในสถานะบุคคล สิทธิในความเป็นส่วนตัว สิทธิเสรีภาพทางความคิดและศาสนา การห้ามการโฆษณาชวนเชื่อเพื่อการสงคราม
และการเกลียดชังเผ่าพันธุ์ สิทธิในการชุมนุมอย่างสงบ การรวมตัวเป็นสมาคม การคุ้มครองครอบครัวและการสมรส สิทธิของเด็ก
ในด้านการคุ้มครอง การมีทะเบียนเกิดและสัญชาติ การมีสิทธิมีส่วนในการบริหารบ้านเมืองและสิทธิของชนกลุ่มน้อย
๒.๒ อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่
ย�่ายีศักดิ์ศรี (Convention Against Torture and other Cruel, Inhuman or Degrading
Treatment or Punishment:CAT)
อนุสัญญามีวัตถุประสงค์เพื่อระงับยับยั้งการทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐ โดยก�าหนดให้รัฐภาคีแต่ละรัฐต้องด�าเนิน
มาตรการต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันมิให้เกิดการกระท�าการทรมานในอาณาเขตใดซึ่งอยู่ภายใต้เขตอ�านาจของตน และ
ไม่มีพฤติการณ์พิเศษใดไม่ว่าจะเป็นภาวะสงคราม หรือสภาพคุกคามที่เกิดจากสงคราม หรือสภาวะฉุกเฉินสาธารณะอื่นใด
มาเป็นข้ออ้างส�าหรับการทรมานได้ โดยรัฐภาคีจะต้องประกันว่าการกระท�าทรมานทั้งปวงเป็นความผิดตามกฎหมายอาญา
ของตน และก�าหนดโทษที่เหมาะสมกับความร้ายแรงของการกระท�า โดยรัฐภาคีต้องปฏิบัติตามในข้อบทที่ ๑ - ๑๗
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 242 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙