Page 181 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 181
๖.๑.๓ สถานการณ์ทั่วไป
ส�าหรับประเทศไทยการคุ้มครอง ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้สามารถด�าเนินชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข
และมีคุณภาพชีวิตที่ดีนั้น เป็นสิ่งที่รัฐให้ความส�าคัญและขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก�าหนดให้กระทรวงการพัฒนา
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการส่งเสริมและ
พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการรวมถึงเป็นกลไกในการขับเคลื่อน ประสานงาน ตลอดจนสนับสนุนการด�าเนินงานในภาคส่วนต่าง ๆ
การพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่คนพิการมีความก้าวหน้าและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นโดยปรากฏชัดแจ้ง ในบทบัญญัติ
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ที่ต้องการให้คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีสามารถด�ารงชีวิต
ได้เช่นเดียวกับบุคคลปกติทั่วไปในสังคม และเข้าถึงสิ่งอ�านวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะตลอดจนความช่วยเหลือต่าง ๆ
จากรัฐ โดยรัฐได้ตราพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๕๖) ซึ่งเป็นหลัก
ในการฟื้นฟู ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่คนพิการ โดยก�าหนดให้ผู้พิการที่มีสัญชาติไทยยื่นค�าขอมีบัตรประจ�าตัว
คนพิการ เพื่อให้คนพิการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสวัสดิการที่รัฐจัดให้ได้อย่างเต็มที่ รวมถึงการส่งเสริมสร้างความตระหนักรู้
ให้สังคมปราศจากการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ
นอกจากกฎหมาย นโยบายและแนวทางต่าง ๆ ที่รัฐก�าหนดขึ้น เพื่อให้การส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
บรรลุผลแล้ว ยังมีคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการที่ถูกก�าหนดขึ้นตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและ
พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๕๖) อันเป็นกลไกส�าคัญในการหนุนเสริมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้
คนพิการได้รับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การวางแนวทางหลักเกณฑ์ การเสนอนโยบาย
โครงการด้านการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เป็นต้น รายละเอียดตามแผนภาพที่ ๒
แผนภาพที่ ๒ กฎหมายและแนวนโยบายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
พ.ร.บ. การจัดการศึกษาส�าหรับคนพิการ พ.ศ. พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.
๒๕๕๑ (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๕๖) เพื่อให้การ ๒๕๕๐ (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๕๖) เพื่อขจัดการกระท�าที่
บริการและการให้ความช่วยเหลือแก่คนพิการใน เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ และเพื่อ
ด้านการศึกษาเป็นไปอย่างทั่วถึงทุกระบบและทุก ช่วยเหลือคนพิการให้ได้รับสิทธิประโยชน์และการอ�านวย
ระดับการศึกษา ความสะดวกเพิ่มขึ้นโดยให้องค์กรด้านคนพิการมีบทบาทใน
การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการมากขึ้น
แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙) เพื่อให้คน ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙) เพื่อให้
พิการด�ารงชีวิตอิสระร่วมกับทุกคนในสังคม คนพิการด�ารงชีวิตอิสระร่วมกับทุกคนใน
อย่างมีความสุข สามารถเข้าถึงสิทธิอย่าง สังคมอย่างมีความสุข สามารถเข้าถึงสิทธิ
เสมอภาคและเท่าเทียมกัน อย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน
ทั้งนี้ จากข้อมูลกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์ พบว่า มีคนพิการที่ยื่นค�าขอและได้รับการออกบัตรประจ�าตัวคนพิการในประเทศไทยจ�านวน ๑,๗๒๕,๖๐๑ คน
คิดเป็นร้อยละ ๒.๖๒ ของประชากรทั้งประเทศ โดยแยกตามพื้นที่ต่าง ๆ รายละเอียดตามตารางที่ ๖
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 180 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙