Page 182 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 182
ตารางที่ ๖ จ�านวนคนพิการที่ได้รับการออกบัตรจ�าแนกตามพื้นที่ ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๙
ภูมิภาค จำ นวน (คนพิการ) ร้อยละ
กรุงเทพมหานคร ๗๑,๙๒๒ ๔.๑๗
ภาคกลางและภาคตะวันออก ๓๕๒,๘๔๑ ๒๐.๔๕
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๖๙๗,๙๑๑ ๔๐.๔๔
ภาคใต้ ๑๙๖,๐๐๒ ๑๑.๓๖
ภาคเหนือ ๓๙๓,๕๐๗ ๒๒.๘๐
ข้อมูลรอการยืนยัน ๑๓,๔๑๘ ๐.๗๘
รวม ๑,๗๒๕,๖๐๑ ๑๐๐
ที่มา : กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พ.ก.)
จากจ�านวนคนพิการที่ลงทะเบียนทั้งหมด แยกเป็นเพศชาย จ�านวน ๙๑๕,๓๙๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๓.๐๕ เพศหญิง สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเฉพาะ
จ�านวน ๘๑๐,๒๐๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๖.๙๕ ๓๓๗
๑) การมีส่วนร่วมขององค์กรคนพิการ พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐
(แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๕๖) ได้ก�าหนดให้องค์กรคนพิการมีสิทธิด�าเนินการเพื่อให้เกิดการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต
แก่คนพิการได้ เช่น เสนอแนะต่อคณะกรรมการฯ เพื่อปรับปรุง
สิทธิประโยชน์แก่คนพิการเพิ่มมากขึ้น ให้บริการหรือจัดกิจกรรม
เพื่อส่งเสริมการกีฬาหรือนันทนาการส�าหรับคนพิการ รวม บทที่
๖
ถึงเรียกร้องแทนคนพิการให้ได้รับสิทธิตามพระราชบัญญัตินี้
เป็นต้น นอกจากนี้ แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙) ยังก�าหนดยุทธศาสตร์ส่งเสริม
ศักยภาพและความเข้มแข็งขององค์กรด้านคนพิการและ
เครือข่าย โดยก�าหนดแนวทางและมาตรการในการส่งเสริม
สนับสนุนให้มีการรวมตัวขององค์กรด้านคนพิการทุกประเภท
และส่งเสริมองค์กรคนพิการให้มีกิจกรรมด้านคนพิการใน
ระดับนานาชาติ สนับสนุนให้องค์กรคนพิการมีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการในทุกระดับ
๒) สตรีและเด็กพิการ เป็นกลุ่มเสี่ยงและเปราะบางต่อการถูกละเมิด อาจถูกเลือกปฏิบัติรวมถึงการถูกเลือกปฏิบัติ
ที่ซ�้าซ้อน เนื่องจากความเป็นสตรีและเด็ก ซึ่งสังคมส่วนใหญ่มองว่าเป็นบุคคลที่มีความอ่อนแอและประกอบกับความพิการ
จึงเป็นเงื่อนไขที่ท�าให้เด็กและสตรีพิการต้องใช้ชีวิตอยู่ภายใต้การดูแลของครอบครัว จึงไม่ได้รับโอกาสในด้านต่าง ๆ
อย่างทั่วถึงโดยเท่าเทียม
๓) การศึกษาของคนพิการ พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาส�าหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๕๖)
มีเจตนารมณ์ให้คนพิการมีสิทธิและโอกาสได้รับการบริการและการช่วยเหลือทางการศึกษาเป็นพิเศษตั้งแต่แรกเกิด
หรือพบความพิการให้เป็นไปอย่างทั่วถึงทุกระบบและทุกระดับการศึกษา โดยรัฐได้ตระหนักถึงความส�าคัญเรื่องการศึกษาของ
คนพิการ จึงจัดท�าแผนพัฒนาการจัดการศึกษาส�าหรับคนพิการ ระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙ ) โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ด�าเนินการตามแนวทางที่ก�าหนดไว้ในแผนพัฒนาการจัดการศึกษาส�าหรับคนพิการดังกล่าว ซึ่งมีการขับเคลื่อนแผนพัฒนา
การจัดการศึกษาส�าหรับคนพิการ เพื่อเพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาแก่เด็กพิการอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึงและเสมอภาค
เช่น การด�าเนินการส�ารวจข้อมูลคนพิการและบุคคลที่มีความต้องการจ�าเป็นพิเศษให้มีความถูกต้องสมบูรณ์ครบถ้วน จัดท�า
๓๓๗ สถิติและการเก็บรวบรวมข้อมูลคนพิการนั้น เป็นการรวบรวมข้อมูลจากคนพิการที่ได้รับการออกบัตรประจ�าตัวคนพิการโดยเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสะสม
ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๗ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๙
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 181 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙