Page 180 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 180

ระยะเวลาในการพิจารณาอนุมัติสัญชาติไทยเฉพาะราย ตามพระราช
            บัญญัติสัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๕๑

            มาตรา ๗ ทวิ วรรค ๒ โดยก�าหนดให้เป็นอ�านาจของผู้ว่าราชการ
            จังหวัดในการพิจารณาอนุมัติให้สัญชาติในจังหวัดอื่น ๆ และอธิบดี
            กรมการปกครองพิจารณาอนุมัติให้สัญชาติในเขตกรุงเทพมหานคร
            โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๘ และ (๔) การแก้ไขปัญหา
            สัญชาติและสถานะบุคคลของเด็กนักเรียน นักศึกษา และบุคคล

            ไร้สัญชาติในประเทศไทย ซึ่งเป็นบุตรของชนกลุ่มน้อย และกลุ่มชาติพันธุ์ที่เกิดในราชอาณาจักรไทย และเด็กและบุคคล
            ที่ก�าลังศึกษาเล่าเรียนอยู่ในสถาบันการศึกษาหรือส�าเร็จการศึกษาแล้ว ให้ได้สัญชาติไทยเป็นการทั่วไป นอกจากนั้น ยังมีการ
            ใช้มาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ร่วมในการก�าหนดหลักเกณฑ์การขอมีสถานะคนต่างด้าวเข้าเมือง

            โดยชอบด้วยกฎหมาย


             ๖.๒  คนพิการ                                                                                            สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเฉพาะ


            ๖.๒.๑ หลักการสิทธิมนุษยชน

                     ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของ
            คนพิการ (Convention on the Rights of Persons with
                              ๓๓๔
            Disabilities : CRPD)  ซึ่งอนุสัญญาดังกล่าวเป็นกฎหมาย
            สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริม                                                    บทที่
                                                                                                                    ๖
            รับรอง และประกันให้คนพิการได้รับการเคารพศักดิ์ศรีที่มีมา
            แต่ก�าเนิด การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
            การด�าเนินชีวิตอิสระของคนพิการ อีกทั้งรับรองสิทธิพลเมือง
            รวมถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของคนพิการด้วย

            โดยการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาดังกล่าวส่งผลให้รัฐภาคีต้องตระหนักถึงความส�าคัญในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิที่พึงมี
            ต่อคนพิการให้เท่าเทียมกับบุคคลทั่วไปและจะเลือกปฏิบัติต่อคนพิการมิได้



                     บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้วางแนวทางในการรับรองและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่คนพิการ
                                                                               ๓๓๕
            มาตรา ๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗  และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
            พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๐ วรรคสามได้ให้การคุ้มครองความเสมอภาค ห้ามมิให้กระท�าการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล
            เพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ และวรรคสี่รัฐมีหน้าที่ในการขจัดอุปสรรคและ
            ส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น โดยไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็น

            หลักการส�าคัญของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มาตรา ๕๔ ซึ่งมีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองสิทธิของคนพิการโดยให้คนพิการ
            เป็นผู้ทรงสิทธิในการเข้าถึงสวัสดิการ สิ่งอ�านวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะจากรัฐ  นอกจากนี้ รัฐได้มีการส่งเสริมพัฒนา
                                                                                ๓๓๖
            และประกาศใช้กฎหมาย นโยบาย ยุทธศาสตร์ ที่เกี่ยวของในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการจ�านวนหลายฉบับเพื่อวางหลักเกณฑ์

            แนวทางในการปฏิบัติให้การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการบรรลุผลเป็นรูปธรรม





                     ๓๓๔  ประเทศไทยเข้าร่วมอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities : CRPD) โดยการให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ ๒๙
            กรกฎาคม ๒๕๕๑ ซึ่งมีผลใช้บังคับกับประเทศไทยในวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๑
                     ๓๓๕  ปัจจุบันเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๐
                     ๓๓๖  เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐, ส�านักกรรมาธิการ ๓ ส�านักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร


                                     รายงานผลการประเมินสถานการณ์  179  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185