Page 178 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 178
ทั้งนี้ ในภาพรวมของการบริหารจัดการงบประมาณแผ่นดินประจ�าปีงบประมาณ ๒๕๕๙ รัฐบาลจัดสรร
งบประมาณให้กระทรวงศึกษาธิการมากที่สุดของงบประมาณรายจ่ายของประเทศ แต่โรงเรียนและศูนย์การเรียนชุมชน
ทั้ง ๑๙ แห่ง ยังคงมิได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรา ๑๔ และมาตรา ๖๑ ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๐ ที่ก�าหนดให้การบริหารจัดการโรงเรียนและศูนย์การเรียนชุมชนโดยส่วนใหญ่ใช้งบประมาณจากเงินสนับสนุนจาก
องค์กรเอกชน ภาคประชาสังคม การรับบริจาค และการจัดการของโรงเรียน เช่น การจ�าหน่ายสินค้าท้องถิ่นที่นักเรียนจัดท�า
และการท�ากิจกรรมหรือโครงการต่าง ๆ ของโรงเรียนกับหน่วยงาน หรือองค์กรภายนอก เป็นต้น
ในส่วนของการเข้าถึงในเชิงกายภาพ พบว่า โรงเรียน
ชุมชนและศูนย์การเรียนชุมชนทุกแห่งตั้งอยู่ในชุมชน ซึ่งมีความ
สะดวกในการเดินทางมายังโรงเรียนของเด็กและมีความปลอดภัย
เนื่องจากอยู่ในตัวพื้นที่ชุมชน ซึ่งการก่อตั้งโรงเรียนชุมชนจะมาจาก
ความต้องการของคนในชุมชนเอง จะมีทั้งองค์กรเอกชนจัดตั้งขึ้น สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเฉพาะ
จากการส�ารวจความต้องการของคนในชุมชน และองค์กรชุมชนเอง
จัดตั้งขึ้นเองเนื่องจากไม่มีโรงเรียนในชุมชนท�าให้เด็กและเยาวชนต้อง
ออกเดินทางไปโรงเรียนต่างหมู่บ้านที่มีระยะทางไกล รวมถึงการปรับตัวของเด็กที่มีปัญหาในการอยู่ต่างพื้นที่ การจัดตั้งโรงเรียนชุมชน
มีวัตถุประสงค์เดียวกันคือต้องการขยายโอกาสทางการศึกษาให้ลูกหลานชุมชนได้เรียนหนังสือโดยไม่ต้องห่างไกลจากหมู่บ้าน
(๓) ด้านการยอมรับได้ (Acceptability) พบว่า กระทรวงศึกษาธิการก�าหนดนโยบายให้ใช้หลักสูตรแกนกลาง
ควบคู่กับหลักสูตรท้องถิ่น ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ โดยหลักสูตรดังกล่าวจะต้องมี บทที่
๖
สาระการเรียนรู้ท้องถิ่นเป็นองค์ความรู้ ทักษะ กระบวนการและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่ผู้เรียนควรได้รับ ซึ่งเขตพื้นที่
การศึกษาหรือหน่วยงานระดับท้องถิ่นพัฒนาขึ้นจากสภาพภูมิศาสตร์ ประวัติความเป็นมา สภาพปัญหาชุมชน วัฒนธรรม
เศรษฐกิจ สังคม การงานอาชีพภูมิปัญญาท้องถิ่น และแนวโน้มการพัฒนาท้องถิ่น เพื่อปลูกฝังให้เด็กในชุมชนมีความรักและ
หวงแหนมรดกทางสังคมของบรรพบุรุษ สามารถด�ารงชีวิตและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
โรงเรียนและศูนย์การเรียนชุมชนจะมีการใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตรแกนกลางควบคู่กับ
หลักสูตรท้องถิ่นเป็นการบูรณาการร่วมกัน โดยใช้วิถีชีวิตและชุมชนเป็นฐานในการคิดค้นหลักสูตรการเรียนการสอนแล้วน�า
วิชาการเข้าไปบูรณาการ ซึ่งวิชาการไม่ได้แยกฐานออกจากวิถีชีวิต อีกทั้งจะมีการเรียนทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน เรียนรู้
ตามเหตุการณ์ เรียนรู้ตามพิธีกรรม และสถานการณ์จริง โดยมีผู้รู้หรือครูชาวบ้านเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
มีการเรียนรู้ทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติ โดยคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนทั้งการก่อตั้งโรงเรียน การคิดค้น
และพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและบริบทของชุมชน ซึ่งจะต้องค�านึงถึงความต้องการของคนในชุมชน
เป็นหลัก ในการเรียนการสอนบางวิชาที่เกี่ยวข้องกับชุมชน จะให้คนในชุมชนหรือครูชาวบ้านเป็นผู้สอน และครูนอกชุมชน
จะเป็นผู้เชื่อมองค์ความรู้ทั้งหมด พร้อมกับท�าให้เด็กเห็นคุณค่าของชีวิตและภูมิปัญญาในชุมชน
(๔) ด้านความยืดหยุ่น (Adaptability) พบว่า กระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบายในการพัฒนาโรงเรียนในพื้นที่
ชุมชนที่มีผู้ใช้ภาษาถิ่นให้ใช้พหุภาษาตามความเหมาะสมโดยการส่งเสริมการสอนภาษาท้องถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่นตาม
บริบทพื้นที่และกลุ่มชาติพันธ์ุให้ใช้ภาษาท้องถิ่นเป็นสื่อการเรียนการสอนร่วมกับภาษาไทย และให้มีครูทวิ/พหุภาษาท�าการสอน
ในพื้นที่ชุมชนที่มีนักเรียนพูดภาษาอื่น ๆ เป็นภาษาแม่ ซึ่งโรงเรียนและศูนย์การเรียนชุมชนมีการใช้ภาษาในการเรียนการสอน
แบบพหุภาษา คือ ภาษาท้องถิ่น ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยจะใช้ภาษาท้องถิ่นควบคู่กับภาษาไทย และสอนภาษาอังกฤษ
เพิ่มเติม ท�าให้นักเรียนได้เรียนรู้ทั้ง ๓ ภาษา ซึ่งในระยะแรกจะใช้ภาษาท้องถิ่นเป็นหลักใช้เวลาค่อนข้างมากในการสอนให้
นักเรียนเข้าใจภาษาไทย แต่เมื่อเด็กนักเรียนเข้าใจภาษาไทยแล้วก็จะเรียนรู้ได้รวดเร็วและง่ายยิ่งขึ้น
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 177 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙