Page 177 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 177
นอกจากนั้น ตั้งแต่เดือนมีนาคม ๒๕๕๘ กระทรวง
มหาดไทย โดยกรมการปกครอง ได้สั่งการให้ส�านักทะเบียน
ทั่วประเทศตรวจสอบและออกสถานะทางกฎหมายหรือ
พิจารณาสัญชาติไทยให้กับกลุ่มเด็กนักเรียนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ
ที่ได้รับการส�ารวจในฐานข้อมูล โดยมีนักเรียนที่เข้าข่ายได้รับ
ประโยชน์จากการด�าเนินการดังกล่าวมากกว่า ๖๕,๐๐๐ คน
หรือร้อยละ ๑๕ ของจ�านวนบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติที่ขึ้นทะเบียน
รวมทั้งสิ้น ๔๔๓,๘๖๒ คน (ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม ๒๕๕๘)
โดยจังหวัดที่มีนักเรียนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ น้อยกว่า ๑,๐๐๐ คน
ได้ด�าเนินการแล้วเสร็จภายใน ๖ เดือน (สิงหาคม ๒๕๕๘) และส�าหรับจังหวัดที่มีนักเรียนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ จ�านวนมาก เช่น ตราด
ราชบุรี แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี เชียงราย และเชียงใหม่ เป็นต้น ได้รายงานความคืบหน้าการด�าเนินการในทุก ๆ เดือน
และในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๙ กระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือผ่อนปรนให้บุคคลไร้รัฐ ไร้สัญชาติที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว
ให้สามารถเดินทางออกนอกพื้นที่เขตอ�าเภอที่ควบคุมได้ โดยให้อยู่ภายในเขตจังหวัดที่ตั้งของอ�าเภอนั้น ๆ
ทั้งนี้ ข้อมูลจ�านวนประชากรไร้รัฐ ไร้สัญชาติที่อยู่ในประเทศไทย มีทั้งสิ้น ๔๕๐,๐๐๐ คน ในขณะที่รัฐบาล
มีนโยบายอย่างชัดเจนในการด�าเนินการตามเป้าหมาย “การขจัดการไร้รัฐ (Zero Statelessness)” ในประเทศไทย โดยเข้าร่วมเป็น
ประเทศผู้น�าในการรณรงค์การขจัดการไร้รัฐ (#IBELONG Campaign to End Statelessness) ในปี ๒๕๖๗ ร่วมกับองค์กร
ระหว่างประเทศ และหน่วยงานต่าง ๆ ๓๒๘
๔) สิทธิทางการศึกษา การประเมินสิทธิด้านการศึกษาของกลุ่มชาติพันธุ์ คนไร้รัฐและไร้สัญชาติใช้กรอบและเกณฑ์
ประเมินสิทธิทางการศึกษาตามที่บัญญัติไว้ใน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR)
ใน ๔ ด้าน โดยเน้นที่การสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน โดยโรงเรียนและศูนย์การเรียนชุมชนในพื้นที่ของ
๓๒๙
กลุ่มชาติพันธุ์ คนไร้รัฐและไร้สัญชาติเป็นส�าคัญ โดยพบว่า
(๑) ด้านความพร้อม (Availability) โรงเรียนและศูนย์การเรียนในชุมชน หรือที่ให้บริการส�าหรับกลุ่มชาติพันธุ์
คนไร้รัฐและไร้สัญชาติ ยังไม่ได้รับงบประมาณจากภาครัฐ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๐
มาตรา ๑๔ และมาตรา ๖๑ ที่ก�าหนดไว้ ส่งผลต่อความพร้อมของโรงเรียนและศูนย์การเรียนชุมชนทั้งหมด โรงเรียนและ
ศูนย์การเรียนชุมชน โดยส่วนใหญ่ยังไม่มีระบบสาธารณูปโภคทั้งไฟฟ้าและน�้าประปา ขาดความพร้อมของสถานที่จัดการเรียน
การสอน ขาดงบประมาณในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและค่าอาหารกลางวันของเด็ก ขาดสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอน
ขาดวัสดุอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอน เช่น หนังสือ สมุด ดินสอ โต๊ะ และเก้าอี้ เป็นต้น รวมทั้งค่าตอบแทนของครูผู้สอน
ที่ไม่ได้รับการจัดสรรมาอย่างเพียงพอ และการขาดการพัฒนาครูโดยกิจกรรมการฝึกอบรมต่าง ๆ
(๒) ด้านการเข้าถึง (Accessibility) พบว่า เด็กที่ขาดโอกาสทางการศึกษาส่วนใหญ่เป็นเด็กยากจน รองลงมา
คือ เด็กกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งประสบปัญหาการไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ในขณะที่รัฐบาลได้ออกกฎหมาย และนโยบายที่ส่งเสริมให้สถาบัน
ทางสังคมอื่น ๆ อาทิ องค์กรชุมชนและองค์กรเอกชนจัดตั้งสถานศึกษาตามมาตรา ๑๒ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พุทธศักราช ๒๕๔๐ ซึ่งเป็นการกระจายการศึกษาให้ทั่วถึงสู่ชุมชน แต่องค์กรเอกชนและองค์กรชุมชนที่จัดตั้งสถานศึกษาเหล่านั้น
ไม่ได้รับงบประมาณจากภาครัฐตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๖๑
ที่ก�าหนดไว้ เป็นเหตุให้เกิดการเลือกปฏิบัติในลักษณะของการใช้งบประมาณเพื่อสนับสนุนการเข้าถึงการศึกษาของ
กลุ่มเด็กและเยาวชนผ่านโรงเรียนและศูนย์การเรียนชุมชน
๓๒๘ รายงานสรุปการประชุมและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ประเด็นปัญหาเด็กไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๑๓ - ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ณ กรุงจากาตาร์
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย, โดย เอกชัย ปิ่นแก้ว
๓๒๙ สิทธิทางการศึกษาที่ระบุไว้ใน ICESCR ก�าหนดการศึกษาในทุกรูปแบบมีองค์ประกอบส�าคัญ ๔ ด้าน คือ (๑) ความพร้อม (Availability) ในการจัดการเรียนการสอนให้แก่ทุกคน
โดยครอบคลุม แผนการเรียนการสอน บุคลากรผู้ปฏิบัติงาน สถานที่ สิ่งอ�านวยความสะดวก ระบบสนับสนุนต่าง ๆ ตลอดจนงบประมาณในการจัดการเรียนการสอน และค่าตอบแทนบุคลากร เป็นต้น
(๒) การเข้าถึง (Accessibility) การศึกษาส�าหรับทุกคน โดยครอบคลุม สถานที่ และแผนในการจัดการเรียนการสอน ความเหมาะสม ความปลอดภัย ความสะดวกในการเข้าถึง และค่าธรรมเนียม
หรือค่าเล่าเรียนที่ผู้เรียนสามารถจ่ายได้จริง หรือการศึกษาแบบให้เปล่าส�าหรับทุกคน (๓) การยอมรับได้ (Acceptability) หลักสูตรและวิธีการเรียนการสอนจะต้องเป็นที่ยอมรับในชุมชน มีความ
เหมาะสมกับบริบททางสังคม วัฒนธรรมของพื้นที่ และ (๔) ความยืดหยุ่น (Adaptability) รูปแบบการศึกษาที่ยืดหยุ่น สามารถปรับปรนให้เหมาะสม สอดคล้องกับผู้เรียน ชุมชน และอื่น ๆ ได้
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 176 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙