Page 179 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 179

ดังนั้น การใช้ภาษาท้องถิ่นจะท�าให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้รวดเร็วและเข้าใจเนื้อหาบทเรียนมากกว่าการ
        ใช้ภาษาไทยเพียงอย่างเดียว อีกทั้งยังท�าให้นักเรียนลดความรู้สึกแปลกแยกและเกิดทัศนคติเชิงบวกต่อภาษาและวัฒนธรรม

        ของตนเอง รวมทั้งการมีครูที่เป็นคนท้องถิ่นมาสอนในโรงเรียนชุมชนเป็นการท�าให้นักเรียนมีความต้องการอยากเรียนมากขึ้น
        เพราะครูที่เป็นคนในท้องถิ่นจะมีความเข้าใจชุมชนทั้งวิถีชีวิต วัฒนธรรม และภาษา


        ๖.๑.๔ การประเมินสถานการณ์
                 กสม. ประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในกลุ่ม

        ชาติพันธุ์ คนไร้รัฐและไร้สัญชาติ พบว่า รัฐบาลมีความพยายาม
        ด�าเนินการแก้ไขปัญหาการไร้รัฐโดยการตรากฎหมาย และ
        นโยบายให้สอดคล้องกัน (coherence) เพื่อแก้ไขปัญหาการ

        ไร้รัฐ ไร้สัญชาติ อาทิ พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ.
        ๒๕๓๔ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) ที่ก�าหนดหลักเกณฑ์เรื่อง
        การจดทะเบียนการเกิดของเด็กทุกคนที่เกิดในราชอาณาจักร
            ๓๓๐
        ไทย  และพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ ๒)
        พ.ศ. ๒๕๕๑ ก�าหนดหลักการเกี่ยวกับการจัดท�าทะเบียนประวัติของบุคคลที่อาศัยอยู่ในประเทศไว้อย่างชัดเจน (เพื่อขจัด

                                                                                     ๓๓๑
        ปัญหาความไร้รัฐ) โดยการจัดท�าทะเบียนประวัติ ตามมาตรา ๑๙/๒ และมาตรา ๓๘ วรรคสอง

                 ในส่วนของการแก้ไขปัญหาการไร้สัญชาติ มีการด�าเนินการใน ๔ ส่วนหลัก ๆ คือ (๑) การแก้ไขการไร้สัญชาติที่เกิด

        จาก ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๗ (ปว.๓๓๗) โดยก�าหนดพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๔)


                                    ๓๓๒
                 พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๒๓  เพื่อแก้ไขปัญหาบุคคลไร้สัญชาติ อันเนื่องมาจากการยกเลิกหลักเกณฑ์การให้สัญชาติโดย
        หลักดินแดน (iussoli) ซึ่งใช้ในประเทศไทยมาตั้งแต่พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. ๒๔๕๖ จนถึงพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘
        โดยประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๗ (ปว.๓๓๗) ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๑๕
                                                                                                          ๓๓๓
        (๒) การให้สัญชาติกับบุคคลที่สืบสันดานจากบุพการีที่มีเชื้อสายไทยแต่ไม่ได้สัญชาติไทย หรือเสียสัญชาติไทยโดย
        ผลของกฎหมายอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงเขตแดน (State Succession) อาทิ กลุ่มคนพลัดถิ่นเชื้อสายไทย หรือคนไทย
        พลัดถิ่น โดยก�าหนดพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๕ (๓) การลดขั้นตอนและ








                 ๓๓๐  โดยไม่มีข้อยกเว้นใด ๆ ไม่ว่าเด็กนั้นจะเป็นบุตรของคนสัญชาติไทยหรือบุตรของคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเป็นผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยไม่ชอบ
        ด้วยกฎหมาย ทั้งนี้ รวมถึงบุตรผู้หนีภัยจากการสู้รบในพื้นที่พักพิงชั่วคราวด้วย ในขณะที่การจดทะเบียนการเกิดดังกล่าวอาจเป็นการจดทะเบียนการเกิดภายในก�าหนด หรือการจด
        ทะเบียนการเกิดเกินก�าหนด (กฎหมายก�าหนดให้จดทะเบียนการเกิดภายใน ๑๕ วัน) ทั้งนี้ ส�าหรับบุคคลที่เกิดในประเทศไทยและมีความจ�าเป็นต้องใช้หลักฐานแสดงจุดเกาะเกี่ยว
        เรื่องถิ่นที่เกิดในประเทศไทย โดยสามารถยื่นเรื่องขอหนังสือรับรองการเกิด (ทร.๒๐/๑) ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ.๒๕๓๔ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑
        มาตรา ๒๐/๑ ซึ่งก�าหนดให้นายทะเบียนอ�าเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นเป็นผู้พิจารณาออกหลักฐานดังกล่าวให้กับผู้ยื่นค�าขอ
                 ๓๓๑  ครอบคลุม (๑) การจัดท�าทะเบียนประวัติส�าหรับบุคคลที่แจ้งจดทะเบียนการเกิด แต่ไม่สามารถพิสูจน์สถานการณ์เกิดและสัญชาติได้ นายทะเบียนก็จะจัดท�า
        ทะเบียนประวัติและก�าหนดเลขประจ�าตัว ๑๓ หลักให้กับบุคคลนั้น และ (๒) การจัดท�าทะเบียนประวัติส�าหรับบุคคลที่แจ้งจดบันทึกรายการบุคคล หรือการเพิ่มชื่อ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่
        ไม่มีสัญชาติไทยที่รัฐมนตรีก�าหนดให้จัดท�าทะเบียนประวัติเป็นหลักฐานแทนการจัดท�าทะเบียนบ้าน
                 ๓๓๒  มาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พุทธศักราช ๒๕๕๑ บัญญัติว่า “บรรดาบุคคลที่เคยมีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทย แต่ถูกถอน
        สัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิบัติ ฉบับที่ ๓๓๗ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕ ข้อ ๑ และผู้ที่เกิดในราชอาณาจักรไทย แต่ไม่ได้สัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ
        ฉบับที่ ๓๓๗ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕ ข้อ ๒ รวมถึงบุตรของบุคคลดังกล่าว ที่เกิดในราชอาณาจักรไทย ก่อนวันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับ และไม่ได้สัญชาติ
        ไทย ตามมาตรา ๗ ทวิ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พุทธศักราช ๒๕๐๘ ซึ่งเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๕๓๕ ถ้าบุคคลผู้นั้นอาศัยอยู่
        จริงในราชอาณาจักรไทย ติดต่อกันโดยมีหลักฐานทางทะเบียนราษฎรและเป็นผู้มีความประพฤติดี หรือท�าคุณประโยชน์ให้แก่สังคม หรือประเทศไทย ให้ได้สัญชาติไทย ตั้งแต่วันที่
        พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เว้นแต่ผู้ซึ่งรัฐมนตรีมีค�าสั่งอันมีผลให้เป็นผู้มีสัญชาติไทยแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ”
                 ๓๓๓  โดยการถอนสัญชาติไทยของผู้ที่เคยมีสัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลักดินแดน และการไม่ให้สัญชาติแก่บุคคลที่เกิดในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๑๕
        ในกรณีที่มีบิดามารดาเป็นคนต่างด้าวที่ไม่มีสิทธิอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นการถาวร


                                 รายงานผลการประเมินสถานการณ์  178  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184