Page 176 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 176
๓๒๔
ได้อย่างเสมอภาคเช่นเดียวกับคนไทย ต่อมา ได้อนุมัติแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลและคนไร้สัญชาติ
ในประเทศไทยเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องสัญชาติและสถานะของเด็กนักเรียนและบุคคลไร้สัญชาติที่เกิดในราชอาณาจักรไทย
ซึ่งอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงให้ “บุตรของคนต่างด้าวทุกกลุ่มที่เกิดในประเทศไทย” สามารถอาศัยอยู่ในไทยได้โดยไม่ต้อง
ถูกด�าเนินคดี ไม่ว่าบิดาหรือมารดาจะเข้ามาอยู่ในไทยโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม โดย “สิทธิอาศัย” ของบุตรจะเป็นไปตาม
สิทธิของบิดาหรือมารดา และสิทธิอาศัยนั้นก็จะติดตัวเด็กต่อไปตราบเท่าที่ยังอาศัยอยู่ในไทยโดยไม่กระท�าการใด ๆ ที่เป็นภัย
ต่อความมั่นคงของชาติ หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ๓๒๕
๒) ความเท่าเทียมทางเพศ และการเลือกปฏิบัติแบบซ�้าซ้อน พบว่า ในส่วนของผู้หญิง และเด็กผู้หญิงในกลุ่ม
ชาติพันธุ์ คนไร้รัฐและไร้สัญชาติ ยังมีรายงานว่าเป็นกลุ่มที่พบว่าถูกละเมิดทางเพศ ไม่ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย และ
ยังไม่ได้รับบริการทางสังคมที่เหมาะสม
๓) สิทธิของเด็กชาติพันธุ์ เด็กไร้รัฐและไร้สัญชาติ พบว่า รัฐบาลพยายามด�าเนินการออกเอกสารรับรองการเกิด
และสูติบัตร ตั้งแต่ ๒๕๕๒ - ๒๕๕๙ เป็นอย่างมาก โดยในปี ๒๕๕๙ มีอัตราส่วนของผู้ที่มี และไม่มีเอกสารรับรองการเกิดและ
สูติบัตรอยู่ร้อยละ ๙๖.๑๘ และ ๓.๘๒ ตามล�าดับ โดยข้อมูลยืนยันว่า มีการด�าเนินการออกใบรับรองการเกิดให้เด็กที่เกิด สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเฉพาะ
ในสถานพยาบาลของรัฐ และเอกชนผ่านฐานข้อมูลออนไลน์ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงมหาดไทย
ทั้งหมดร้อยละ ๙๗ ทั้งนี้ ยังมีสถานพยาบาลอีกร้อยละ ๓ ที่ยังไม่มีความพร้อมในการเชื่อมโยงของระบบดังกล่าว นอกจากนั้น ยังพบ
ว่าผู้ปกครองที่เข้ารับบริการในสถานพยาบาลมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับเอกสารรับรองการเกิด และสูติบัตร หรือบางส่วน
๓๒๖
มีปัญหาข้อติดขัดต่าง ๆ ท�าให้ไม่ขอรับเอกสารรับรองการเกิด และสูติบัตร ตามสถิติข้อมูลเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการไร้รัฐ
๓๒๗
ไร้สัญชาติ โดยการจดทะเบียนการเกิด และการออกสูติบัตร ระหว่างปี ๒๕๕๒ - ๒๕๕๙ รายละเอียดตามตารางที่ ๕
ตารางที่ ๕ สถิติข้อมูลเกี่ยวกับการจดทะเบียนการเกิดและการออกสูติบัตร ระหว่างปี ๒๕๕๒ - ๒๕๕๙ บทที่
๖
เอกสารรับรองการเกิดและสูติบัตร และ เอกสารรับรองการเกิดและสูติบัตร อัตราส่วนของ
รับใบสูติบัตร แต่ไม่รับใบสูติบัตร ผู้มีและไม่มีเอกสาร
ปี รวมทั้งสิ้น รับรองการเกิด
มีใบเกิด ไม่มีใบเกิด
ไทย ไม่ไทย รวม ไทย ไม่ไทย รวม
(ร้อยละ) (ร้อยละ)
๒๕๕๒ ๗,๔๗๓ ๗ ๗,๔๘๐ ๑๐ ๑๖ ๒๖ ๗,๕๐๖ ๙๙.๖๕ ๐.๓๕
๒๕๕๓ ๑๑,๙๕๕ ๑๑๖ ๑๒,๐๗๑ ๑๓๕ ๘๙ ๒๒๔ ๑๒,๒๙๕ ๙๘.๑๘ ๑.๘๒
๒๕๕๔ ๙๗,๒๓๐ ๓,๙๓๖ ๑๐๑,๑๖๖ ๙๙๓ ๑,๖๙๖ ๒,๖๘๙ ๑๐๓,๘๕๕ ๙๗.๔๑ ๒.๕๙
๒๕๕๕ ๑๕๑,๖๙๘ ๖,๑๔๘ ๑๕๗,๘๔๖ ๒,๗๑๕ ๒,๙๖๗ ๕,๖๘๒ ๑๖๓,๕๒๘ ๙๖.๕๓ ๓.๔๗
๒๕๕๖ ๓๓๗,๖๐๘ ๑๘,๐๘๖ ๓๕๕,๖๙๔ ๔,๕๑๙ ๘,๓๙๗ ๑๒,๙๑๖ ๓๖๘,๖๑๐ ๙๖.๕๐ ๓.๕๐
๒๕๕๗ ๔๔๘,๗๕๕ ๒๘,๗๙๖ ๔๗๗,๕๕๑ ๔,๓๔๐ ๙,๒๓๒ ๑๓,๕๗๒ ๔๙๑,๑๒๓ ๙๗.๒๔ ๒.๗๖
๒๕๕๘ ๔๔๒,๙๐๓ ๓๕,๖๘๐ ๔๗๘,๕๘๓ ๖,๒๕๒ ๘,๓๘๕ ๑๔,๖๓๗ ๔๙๓,๒๒๐ ๙๗.๐๓ ๒.๙๗
๒๕๕๙ ๓๗๘,๙๔๕ ๒๗,๘๖๙ ๓๗๖,๘๑๔ ๘,๖๐๗ ๖,๓๕๓ ๑๔,๙๖๐ ๓๙๑,๗๗๔ ๙๖.๑๘ ๓.๘๒
รวมทั้งสิ้น ๑,๘๔๖,๕๖๗ ๑๒๐,๖๓๘ ๑,๙๖๗,๒๐๕ ๒๗,๕๗๑ ๓๗,๑๓๕ ๖๔,๗๐๖ ๒,๐๓๑,๙๑๑ ๙๖.๘๒ ๓.๑๘
ที่มา : ข้อมูลกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ณ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
๓๒๔ จาก รัฐเร่งก�าหนดสถานะคนไร้สัญชาติ, โดย เนชั่น, สืบค้นจาก http://www.nationtv.tv/main/content/social/378511336/
๓๒๕ จาก ปลัดมท.แจงมติครม.แก้คนไร้รัฐ-สัญชาติ เพื่อคุ้มครองสิทธิเด็กตามหลักสิทธิมนุษยชน, โดย มติชน, สืบค้นจากhttp://www.matichon.co.th/news//398658
๓๒๖ กฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรก�าหนดเรื่องหนังสือรับรองการเกิดไว้ ๒ ส่วน กล่าวคือ ส่วนที่ ๑ เป็นหนังสือรับรองการเกิดที่ออกตามมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติ
การทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งก�าหนดให้ผู้ท�าคลอดมีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการเกิดให้แก่ผู้มีหน้าที่แจ้งการเกิดไว้ เป็นหลักฐาน (ท.ร.๑/๑) โดยก�าหนดให้ใช้ส�าหรับเด็กที่เกิดในโรง
พยาบาลหรือสถานพยาบาลทั้งที่เป็นหน่วยงานของรัฐและเอกชนออกให้กับเด็กทุกคนไม่ว่าเด็กนั้นจะมีสัญชาติไทยหรือไม่ก็ตาม และส่วนที่ ๒ เป็นหนังสือรับรองการเกิดที่ออกตามมาตรา
๒๐/๑ แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งก�าหนดให้นายทะเบียนอ�าเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นเป็นผู้พิจารณาออกหลักฐาน
ดังกล่าวให้แก่ผู้ยื่นค�าขอที่มีความจ�าเป็นต้องใช้หลักฐานแสดงว่าเป็นผู้ที่เกิดในประเทศไทย ส�าหรับการขอมีหรือขอแปลงสัญชาติไทยหรือกรณีที่มีเหตุจ�าเป็นอื่น (ท.ร.๒๐/๑)
โดยกฎหมายบัญญัติให้ผู้อ�านวยการทะเบียนกลางก�าหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการขอหนังสือรับรองการเกิดดังกล่าว
๓๒๗ ข้อมูลกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ณ วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 175 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙