Page 175 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 175

ในภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศ และกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ทั้งที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูงปะปนกับชาวเขา อาทิ ปะหล่อง
        ตองสู้ คะฉิ่น จีนฮ่อ ไทลื้อ ไทยใหญ่ มอญ และอื่น ๆ ประมาณ ๗๐,๐๐๐ คน และกลุ่มชาวเลในภาคใต้ (มอแกนและ

                                      ๓๒๐
        อูรักลาโว้ย) ประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน  นอกจากนี้ ยังมีคนต่างด้าวที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยอีกจ�านวนหนึ่ง โดยคนต่างด้าว
        บางกลุ่มอยู่ในประเทศไทยโดยไม่มีสถานะที่ถูกต้องตามกฎหมาย ประกอบด้วย ผู้ที่อพยพเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้านและ
        อยู่ในประเทศไทยมานานแล้ว ประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ คน แรงงานต่างด้าวจากเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชาที่เข้ามาท�างาน
        ในประเทศไทยโดยไม่ผ่านกระบวนการที่ถูกต้องประมาณไม่ต�่ากว่า ๑,๒๐๐,๐๐๐ คน ผู้หนีภัยการสู้รบจากประเทศเมียนมาร์
                                                                      ๓๒๑
        ที่อาศัยอยู่ในค่ายตามแนวชายแดนไทย-เมียนมาร์ ประมาณ ๑๑๐,๐๐๐ คน  คนไร้รัฐ และคนไทยพลัดถิ่น


        ๖.๑.๓ สถานการณ์ปี ๒๕๕๙
                 สถานการณ์สิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ คนไร้รัฐและไร้สัญชาติในประเทศไทย ในภาพรวมซึ่งเชื่อมโยงกับกฎหมายภายใน

                             ๓๒๒
        ประเทศไทย ในปี ๒๕๕๙  พบว่า ประชากรในกลุ่มชาติพันธุ์ คนไร้รัฐและไร้สัญชาติ หากเป็นบุคคลสัญชาติไทยมีสิทธิทั้งปวง
        เช่นเดียวกับประชาชนชาวไทยทั่วไป ทั้งนี้ ในกรณีของประชากรกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นบุคคลไร้รัฐ ไร้สัญชาติ หรือไม่มีสถานะทาง
        ทะเบียน จะได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กล่าวคือ การมีสิทธิทางการศึกษา
        โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณส�าหรับการศึกษาภาคบังคับ และได้รับวุฒิการศึกษาหลังจากที่ส�าเร็จการศึกษา
        การมีสิทธิในการรักษาพยาบาล แม้ว่าจะยังไม่ได้หลักประกันสุขภาพแบบบังคับ แต่ก็สามารถใช้หลักประกันสุขภาพทางเลือกได้

        การมีสิทธิในการท�ากินหรือประกอบอาชีพต่าง ๆ รวมถึงการลงทุนประกอบธุรกิจ โดยไม่ขัดกับข้อก�าหนดทางกฎหมาย
        โดยต้องขออนุญาตและต้องไม่ท�าอาชีพที่สงวนให้บุคคลสัญชาติไทย รวมถึงการมีสิทธิในการเดินทางเพื่อการศึกษาและการ
        รักษาพยาบาล การประกอบอาชีพโดยต้องมีการขออนุญาต การมีสิทธิ์ในทรัพย์สิน โดยเฉพาะสังหาริมทรัพย์ โดยการซื้อ ขาย

        เช่าหรือท�านิติกรรมตามกฎหมายเอกชนเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น ๆ ได้  แต่ไม่รวมถึงกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ (บ้าน ที่ดิน
                                                               ๓๒๓
        และสิ่งปลูกสร้างใด ๆ) เว้นแต่จะมีกฎหมายที่ก�าหนดเป็นลักษณะเฉพาะ การมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม โดยครอบคลุม
        สิทธิในการฟ้องคดีทั้งทางแพ่งและพาณิชย์ ทางอาญา และทางปกครอง โดยมีความเสมอภาคในกระบวนการยุติธรรม การร้องขอ
        ทนายความจากศาล การที่ศาลต้องรับฟังค�าให้การแก้ฟ้องอย่างเท่าเทียมกับคนที่มีสัญชาติและอื่น ๆ ทั้งนี้ บุคคลไร้รัฐ
        ไร้สัญชาติ หรือไม่มีสถานะทางทะเบียนจะไม่มีสิทธิในการเข้าร่วมทางการเมือง กล่าวคือ สิทธิในการเลือกตั้ง และการลงสมัคร

        รับเลือกตั้ง แต่อย่างใด ในขณะที่สิทธิในการรับรองสถานะบุคคลตามกฎหมายที่เหมาะสม หากมีข้อเท็จจริงที่เชื่อได้ว่ามีสัญชาติไทย
        ก็สามารถขอพิสูจน์สัญชาติไทยได้ หรือหากเชื่อได้ว่าเป็นคนต่างด้าวที่อาจได้รับอนุญาตให้เข้าเมืองและอาศัยอยู่อย่างถูกกฎหมาย
        ก็สามารถขอสิทธิในการเข้าเมืองและอาศัยอยู่อย่างถูกกฎหมาย โดยในระหว่างที่ยังมีสถานะบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน

        ให้ถือว่ามิใช่บุคคลไร้รัฐ เนื่องจากมีสิทธิในสถานะบุคคลตามกฎหมายการทะเบียนราษฎรของประเทศไทยแล้ว แต่อยู่ระหว่าง
        รอการก�าหนดสิทธิในสถานะบุคคลที่เหมาะสม โดยให้ได้รับการผ่อนผันให้สิทธิอาศัยอยู่ในประเทศไทยในพื้นที่ที่ได้รับ
        การท�าทะเบียนประวัติ มีสถานะเป็นราษฎรไทยประเภท “คนอยู่ชั่วคราว” แม้ว่าจะไร้สัญชาติและไร้สถานะคนเข้าเมือง
        ที่ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม



                 รายละเอียดสถานการณ์สิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ คนไร้รัฐและไร้สัญชาติในประเทศไทย ปี ๒๕๕๙ มีสถานการณ์
        หลัก ๆ ดังนี้
                 ๑) นโยบายหรือมาตรการที่รัฐด�าเนินการในปี ๒๕๕๙ รัฐเร่งรัดโครงการก�าหนดสถานะให้แก่บุคคลไร้สัญชาติ

        โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนทั้งในและนอกระบบการศึกษาให้ได้รับสัญชาติไทยอย่างถูกต้อง เพื่อเข้าสู่สิทธิและสวัสดิการรัฐ
                 ๓๒๐  ข้อมูลตามรายงานผลการด�าเนินงานของประเทศไทยตามอนุสัญญา CERD ฉบับที่ ๑ - ๓ (ภาษาอังกฤษ), หน้า ๗ - ๘
                 ๓๒๑  ประมาณการตามที่ปรากฏในยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลปี ๒๕๔๘
                 ๓๒๒  กลุ่มงานประเมินและรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ส�านักวิจัยและวิชาการ ส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชน
        จาก เวที กสม. พบประชาชนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วันที่ ๒๘ - ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๙) ภาคเหนือ (วันที่ ๒๕ - ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๙) ภาคกลางรวมภาคตะวันออกและ
        ภาคตะวันตก (วันที่ ๒๗ - ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๙) และภาคใต้ (วันที่ ๒๓ - ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๙)
                 ๓๒๓  ในส่วนนี้หมายถึง การซื้อ-ขาย และถือครองกรรมสิทธิ์ในรถยนต์และรถจักรยานยนต์ย่อมกระท�าได้ เนื่องจากรถยนต์และรถจักรยานยนต์มิใช่อสังหาริมทรัพย์แต่
        ยังมีการตีความของส�านักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และกรมการขนส่งทางบกซึ่งยังท�าให้เป็นข้อจ�ากัดในทางปฏิบัติ โดย ณ ปัจจุบัน ภาคประชาสังคมได้เสนอให้จัดกฎหมายใน
        เชิงปกครอง เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อสาธารณชน


                                 รายงานผลการประเมินสถานการณ์  174  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179   180