Page 174 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 174
การตอบตกลง (Accepted) การปฏิญาณโดยสมัครใจ (Pledged) หรือการรับทราบ (Noted) ของรัฐบาลไทยในกระบวนการ
สากลเพื่อการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (Universal Periodic Review : UPR) ๓๑๔
๓๑๕
(๒) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ โดยเฉพาะในมาตรา ๔ ซึ่งเชื่อมโยง
กับเจตนารมณ์ หรือหลักการด้านสิทธิมนุษยชนที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ส่วนที่ ๒
๓๑๖
ความเสมอภาค มาตรา ๓๐ และกฎหมายภายในประเทศฉบับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
๖.๑.๒ สถานการณ์ทั่วไป
ข้อมูลประชากรที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทยยังไม่มีความสมบูรณ์ ยังไม่มีการระบุหรือสามารถแยกแยะ
ตามเชื้อชาติได้ชัดเจน ไม่มีการจัดเก็บข้อมูลในมิติเชื้อชาติแบบองค์รวม เนื่องจากปัจจัยหลายประการ อาทิ ในทางวิชาการ
มโนทัศน์กลุ่มชาติพันธุ์ (ethnic group) ที่นักมานุษยวิทยาใช้ในการจ�าแนกกลุ่มชนต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไป จากแบบแผน
พฤติกรรมมนุษย์หรือ “วัฒนธรรม” เป็นการจ�าแนกตัวกลุ่มชาติพันธุ์เอง ความหลากหลายภายในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน เช่น การใช้ภาษา
ในการสื่อสาร รวมถึงการเรียกชื่อตนเองของกลุ่มชาติพันธุ์ และส่วนหนึ่งเกิดจากนโยบายของรัฐในอดีตที่ส่งเสริมการ สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเฉพาะ
๓๑๗
ผสมกลมกลืน (assimilation) ระหว่างคนเชื้อชาติไทยกับคนเชื้อชาติอื่น ท�าให้ข้อมูลประชากรเชื้อชาติของแหล่งต่าง ๆ
มีความแตกต่างกันไปตามแนวทางหรือวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวม ในขณะที่กระทรวงมหาดไทยก�าหนดนิยาม “กลุ่มชาติพันธุ์”
โดยทั่วไป หมายถึง ชนต่างเผ่า หรือต่างเชื้อชาติ ที่อาศัยรวมกันกับชนเผ่าอื่นที่มีจ�านวนมาก ซึ่งอาจหมายรวมถึงกลุ่มบุคคลที่มิได้
มีสัญชาติไทย และมีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีแตกต่างไป เข้ามาหรือพักอาศัยอยู่ในประเทศไทยโดยวิธีการหรือ
๓๑๘
ลักษณะที่แตกต่างกัน
อย่างไรก็ดี แม้การจ�าแนกกลุ่มชาติพันธุ์ บทที่
๖
จะแตกต่างไปตามเงื่อนไขของแต่ละหน่วยงาน
แต่อาจกล่าวได้ว่าประชากรทั้งหมดในประเทศไทย
ประมาณ ๖๖ ล้านคน ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ
มีเชื้อชาติไทย มีประชากรที่มีเชื้อชาติอื่น ประกอบด้วย
๓๑๙
คนไทยเชื้อสายมลายูประมาณร้อยละ ๓ ของประชากร
โดยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใน ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย
นอกจากนี้ ยังมีชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ประมาณ ๑๐ กลุ่ม
จ�านวนประมาณ ๙ แสนคน ซึ่งมักอาศัยอยู่ในพื้นที่สูง
๓๑๔ ในการประชุม UPR เพื่อพิจารณาสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทย รอบที่ ๒ ในวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙ รัฐบาลไทยได้รับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์ ชนเผ่า
กลุ่มชนพื้นเมือง และกลุ่มคนไร้รัฐไร้สัญชาติ โดยรวมทั้งหมด ๒๗ ข้อ โดยมีข้อหลักๆ ที่รัฐบาลไทยตอบตกลง (Accepted) ได้แก่ (๑) การจดทะเบียนการเกิดส�าหรับเด็กทุกคนที่เกิดบนแผ่นดินไทย
ตลอดจนการดูแลให้มีกลไกในการจดทะเบียนการเกิดที่ดี และมีประสิทธิภาพ (เสนอโดยรัฐบาลนามีเบีย และตุรกี) (๒) การถอนถ้อยแถลงตีความในอนุสัญญา CERD และข้อสงวนในข้อบทที่ ๔
(เสนอโดยรัฐบาลอัฟริกาใต้) (๓) การป้องกันมิให้เกิดการเลือกปฏิบัติโดยเหตุของความแตกต่างทางศาสนา ความเชื่อ หรือการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ (เสนอโดยรัฐบาลสเปน) (๔) การจัดเตรียม
ความพร้อมของกรอบการปฏิบัติภายในประเทศ การให้สัตยาบันต่อ ICMW (เสนอโดยรัฐบาลกัวเตมาลา ซีร่าลีโอน ตุรกี ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และอียิปต์) (๕) การดูแลให้เกิดการเข้าถึงระบบการดูแล
รักษาสุขภาพ การศึกษา และสวัสดิการสังคมของกลุ่มเปราะบาง ซึ่งครอบคลุมประชาชนที่อยู่ในชนบท กลุ่มชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อย ผู้หญิง ผู้อพยพ และผู้ลี้ภัย โดยส่งเสริมให้มีกฎหมาย และนโยบาย
ในส่วนที่เกี่ยวข้อง และไม่เลือกปฏิบัติต่อกลุ่มชาติพันธุ์ รวมถึงลดทอนปัญหาอุปสรรคทางภาษา (เสนอโดยรัฐบาลกัมพูชา ญี่ปุ่น เมียนมา และปารากวัย) (๖) การเสริมสร้างความร่วมมือกับข้าหลวงใหญ่
ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ตลอดจนองค์กรพัฒนาเอกชนในการช่วยเหลือทางมนุษยธรรมและการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานต่อผู้พลัดถิ่น (เสนอโดยรัฐบาลกาตาร์) (๗) การให้สัตยาบันต่อ
อนุสัญญาที่เกี่ยวกับสถานะของผู้ลี้ภัย ปี ๒๔๙๔ (1951) และพิธีสารเลือกรับ ปี ๑๕๑๐ (1967) รวมถึงการด�าเนินการที่ส่งเสริมและเคารพต่อหลักการไม่ผลักดันกลับไปสู่ความตาย (principle of
non-refoulement) (เสนอโดยรัฐบาลคาซัคสถาน โปรตุเกส และเยอรมนี) และ (๘) การด�าเนินการตามกฎหมายคุ้มครองผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มเปราะบาง พร้อมกับการด�าเนินการที่ดี มีประสิทธิภาพ
(เสนอโดยรัฐบาล บรูไน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) และที่รัฐบาลไทยตอบรับทราบ (Noted) ได้แก่ (๑) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการก�าหนดสถานะของผู้แสวงหาที่พักพิง (asylum seekers) และผู้ลี้ภัย
(refugees) โดยไม่เลือกปฏิบัติ (เสนอโดยรัฐบาลแคนาดา) และ (๒) ตอบรับทราบข้อเสนอแนะการให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ค.ศ.๑๙๘๙ (ฉบับที่ ๑๖๙) ด้าน
ชนเผ่า และชนพื้นเมือง (เสนอโดยรัฐบาลซีร่าลีโอน)
๓๑๕ ปัจจุบันเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๐
๓๑๖ มาตรา ๓๐ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ บัญญัติว่า บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน
ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นก�าเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือ
สุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระท�า
มิได้ มาตรการที่รัฐก�าหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรค หรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม
๓๑๗ จาก ข้อมูลส�าคัญเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์: ความหมายและการเรียกชื่อ, โดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, สืบค้นจาก http://www.sac.or.th/ databases/ethnicredb/
more_information.php
๓๑๘ อ้างอิงตามการให้ความหมายของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ใน“รายงานผลการด�าเนินงานของประเทศไทยตามอนุสัญญา CERD” น�าเสนอต่อคณะ
กรรมการประจ�าอนุสัญญา CERD ระหว่างวันที่ ๙ - ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๕ และข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประจ�าอนุสัญญา CERD
๓๑๙ จาก ประเทศไทย, สืบค้นจาก http://th.wikipedia.org/wiki/ประเทศไทย
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 173 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙