Page 173 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 173
การประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเฉพาะในบทนี้จะประเมินกลุ่มเฉพาะ จ�านวน ๘ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มชาติพันธุ์ คนไร้รัฐและ
ไร้สัญชาติ คนพิการ เด็ก นักปกป้องสิทธิมนุษยชน บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ผู้สูงอายุ แรงงานข้ามชาติและผู้ติดตาม และสตรี ซึ่งมีความ
เกี่ยวข้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศหลายฉบับ โดยเนื้อหาในรายงานฯ น�าเสนอสถานการณ์ปัญหา ความก้าวหน้าและความถดถอยในการด�าเนินการของรัฐ
ตลอดจนข้อเสนอแนะในการด�าเนินการเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของกลุ่มเฉพาะแต่ละกลุ่ม ทั้งนี้ เนื่องจากในแต่ละกลุ่มเฉพาะ
มีความละเอียดอ่อนในมิติด้านสิทธิมนุษยชนที่แตกต่างกัน เนื้อหาในการประเมินสถานการณ์ของบทนี้จึงมีความเกี่ยวข้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ
หลายฉบับ อาทิ อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms
of Racial Discrimination: CERD) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with
Disabilities: CRPD) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child: CRC) และอนุสัญญาว่าด้วยการขจัด
การเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women:
CEDAW) รวมถึงพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาฉบับต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังเกี่ยวข้องกับหลักการและกรอบข้อตกลงต่าง ๆ ได้แก่ ปฏิญญา
สหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง (Universal Declaration on the Rights of Indigenous Peoples : UNDRIP และหลักการ
ยอกยาการ์ตาว่าด้วยการใช้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในประเด็นความโน้มเอียงทางเพศ และอัตลักษณ์ทางเพศ (The Yogyakarta
Principles) โดยในปี ๒๕๕๙ มีสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของแต่ละกลุ่มเฉพาะ ดังนี้
๖.๑ กลุ่มชาติพันธุ์ คนไร้รัฐและไร้สัญชาติ
๖.๑.๑ หลักการสิทธิมนุษยชน
กรอบในการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ คนไร้รัฐ และไร้สัญชาติในประเทศไทย พิจารณาตาม
ข้อบทและหลักการต่าง ๆ ใน ๒ ส่วน คือ
(๑) พันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ทั้ง ๗ ฉบับ ที่ประเทศไทยเป็นภาคี โดยพิจารณาควบคู่ไปกับ
การตีความหมาย และการเชื่อมโยงของข้อบทระหว่างพันธกรณีระหว่างประเทศฉบับต่าง ๆ ในประเด็นด้านสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์
คนไร้รัฐและไร้สัญชาติ ที่น�าเสนอในปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง (Universal Declaration on the
๓๑๒
Rights of Indigenous Peoples : UNDRIP) ซึ่งประเทศไทยให้การรับรอง พร้อมทั้งอนุสัญญาเกี่ยวกับสถานะของคนไร้รัฐ
ปี ๒๔๙๗ (๑๙๕๔) และอนุสัญญาว่าด้วยการลดความไร้สัญชาติ ปี ๒๕๐๔ (๑๙๖๑) ซึ่งประเทศไทยยังไม่ให้การรับรอง แต่ก็เป็น
มาตรฐานที่ปรากฏทั่วไปในกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ โดยเน้นหลักการไม่เลือกปฏิบัติ และการไม่กระท�าการใด ๆ
ที่เป็นความรุนแรง หรือการละเมิดสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ ชนเผ่า ชนพื้นเมือง และคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติเป็นส�าคัญ รวมถึง
๓๑๓
๓๑๒ ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนพื้นเมือง หรือประชาชาติท้องถิ่นดั้งเดิม (Universal Declaration on the Rights of Indigenous Peoples : UNDRIP)
เป็นกรอบแนวทางด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ยอมรับและคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน ทั้งที่เป็นสิทธิบุคคลและสิทธิแบบกลุ่มของชุมชน ชนพื้นเมือง หรือประชาชาติท้องถิ่น
ดั้งเดิม โดยสหประชาชาติได้ประกาศ เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๐ และมีประเทศที่ให้การรับรองปฏิญญาฉบับนี้ ๑๔๖ ประเทศ รวมถึงประเทศไทย
๓๑๓ เอกชัย ปิ่นแก้ว, (๑) รายงานสรุปการประชุมและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ประเด็นปัญหาเด็กไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๑๓ - ๑๕ พฤศจิกายน
๒๕๕๙ ณ กรุงจากาตาร์ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (๒) รายงานสรุปการประชุมระดับภูมิภาคเอเชียเพื่อเตรียมความพร้อมในกลไกและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับชนพื้นเมืองใน
สหประชาชาติ ระหว่างวันที่ ๙ - ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๐ ณ จังหวัดเชียงใหม่ และ(๓) รายงานมวลประสบการณ์การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามพรมแดน หลักสูตร “การไร้รัฐ (Stateless-
ness)” ครั้งที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๔ - ๗ เมษายน ๒๕๖๐ ณ สถาบันระหว่างประเทศด้านกฎหมายมนุษยธรรม เมืองซารีโม สาธารณรัฐอิตาลี
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 172 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙