Page 101 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 101

สถานการณ์สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมมีความเกี่ยวข้องกับหลักการในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ

        สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights - ICESR) ซึ่งประเทศไทยเข้าเป็นภาคี
        กติกา ICESCR เมื่อวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๔๒ มีผลใช้บังคับในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ เนื้อหาของกติกา ICESCR มีจ�านวน ๓๑ ข้อ โดยเนื้อหา
        ที่ว่าด้วยสิทธิต่าง ๆ ของประชาชนปรากฏอยู่ในข้อ ๑ - ๑๕ ของกติกา ICESCR ได้แก่ การก�าหนดเจตจ�านงของตน การจัดการทรัพยากร
        และการประกันสิทธิของรัฐภาคี ที่จะต้องให้สิทธิแก่ทั้งประชาชนและผู้ที่ไม่ใช่คนชาติของตน การประกัน สิทธิความเท่าเทียมกันในเรื่องเศรษฐกิจ

        สังคม และวัฒนธรรมระหว่างชายหญิงและเพื่อความเท่าเทียมกันในสังคม ประชาธิปไตย การห้ามลิดรอนสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานการรับรอง
        สิทธิในการท�างานหาเลี้ยงชีพด้วยสภาพการท�างานที่ยุติธรรม ค่าจ้างที่เป็นตามความเป็นอยู่และสภาพการท�างานที่ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ การก่อตั้ง
        สหภาพแรงงาน สิทธิของคนงาน สิทธิในสวัสดิการสังคม การประกันสังคม สิทธิของครอบครัวในฐานะเป็นสังคมพื้นฐานทางธรรมชาติ
        สิทธิของมารดา เด็ก ผู้เยาว์ และความคุ้มครองสิทธิในมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอในปัจจัย ๔ โดยเฉพาะเรื่องอาหาร โดยปลอดจากความ

        หิวโหยและการแบ่งสรรอาหาร สิทธิด้านสุขภาพ สุขลักษณะ บริการทางการแพทย์ การควบคุมโรคระบาด โดยเฉพาะอนามัยทารก สิทธิทางการศึกษา
        ซึ่งประถมศึกษาจะเป็นการศึกษาภาคบังคับที่ให้เปล่าแก่ทุกคน และการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษาที่เหมาะสมเท่าเทียมกัน รวมถึง
        การศึกษาขั้นพื้นฐานที่จะต้องส่งเสริมให้มากที่สุด สิทธิที่จะมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และการดูแลจากภาครัฐ
        ที่จะคุ้มครองอนุรักษ์และการพัฒนา รวมทั้งการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และทางวัฒนธรรม


                 ในปี ๒๕๕๙ กสม. แบ่งสถานการณ์สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมออกเป็น ๓ เรื่องหลัก ได้แก่ (๑)

        สิทธิด้านการศึกษา (๒) สิทธิด้านสุขภาพ และ (๓) สิทธิในการประกอบอาชีพและการท�างาน


         ๔.๑  สิทธิด้านการศึกษา



        ๔.๑.๑ หลักการสิทธิมนุษยชน
                 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) ที่ประเทศไทยเป็นภาคี ข้อ ๑๓
        ก�าหนดให้รัฐภาคีมีหน้าที่รับรองสิทธิของทุกคนในการศึกษา โดยมุ่งให้เกิดการพัฒนาด้านบุคลิกภาพของมนุษย์และความส�านึก
        ในศักดิ์ศรีของบุคคลอย่างสมบูรณ์ โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีหน้าที่จัดการศึกษาภาคบังคับ

        ให้กับทุกคนแบบให้เปล่าโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ รวมทั้งจะต้องจัดการศึกษาขั้นมัธยมศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ ให้ทุกคนมีสิทธิ
        ได้รับและให้ทุกคนสามารถได้รับการศึกษาขั้นอุดมศึกษาอย่างเท่าเทียมกันบนพื้นฐานของความสามารถ ด้วยวิธีการที่เหมาะสม
        ซึ่งไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป นอกจากนี้ รัฐยังต้องสนับสนุนสิทธิในการศึกษาขั้นพื้นฐานของคนทุกกลุ่มอายุ

        รวมถึงรับรองเสรีภาพของประชาชนในการจัดการด้านการศึกษาของตนเองซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาขึ้นต�่าที่รัฐ
        ก�าหนดไว้


                 นอกจากนี้ คณะกรรมการประจ�ากติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ได้มีข้อสังเกต
        ทั่วไป (General Comment) เกี่ยวกับปัจจัยส�าคัญที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงสิทธิทางการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย ๔ ปัจจัย

        คือ (๑) ความพร้อม (availability) ส�าหรับรัฐในการจัดให้มีสถาบันการศึกษา และแผนการศึกษาต่าง ๆ อย่างเพียงพอ
        และมีคุณภาพ (๒) การเข้าถึง (accessibility) สถาบันการศึกษา และแผนการศึกษาต่าง ๆ ที่ปราศจากการเลือกปฏิบัติ
        (๓) การยอมรับ (acceptability) รูปแบบ สาระของการศึกษา หลักสูตร และวิธีการเรียนการสอนซึ่งจะต้องมีคุณภาพ

        ตามมาตรฐานการศึกษาตามที่รัฐก�าหนดไว้ รวมถึงเหมาะสมสอดคล้องกับวัฒนธรรม และ (๔) ความยืดหยุ่น (adaptability)
        ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของสังคม และชุมชน รวมถึงตอบสนองความต้องการของนักเรียนที่มีภูมิหลังทางสังคมและ
                              ๑๒๒
        วัฒนธรรมที่หลากหลายได้



                 ๑๒๒  Paragraph 6 - 7 CESR General Comment No.13 : The Right to Education (Art.13) Adopted at the 21st Session of the Committee on Eco-
        nomic, Social and Culture Rights on 8 December 1999  UN Doc E/C.12/1999/10


                                 รายงานผลการประเมินสถานการณ์  100  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106