Page 79 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 79
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
๘ จากการจัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) เรื่อง “ปรากฏการณ์ตุ๊กตาลูกเทพกับการสื่อสารที่ให้เกิด
ความเกลียดชัง” นั้น ผู้วิจัยพบว่า มีข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องสรุปได้ ดังนี้
• ผู้นิยมตุ๊กตาลูกเทพบางราย ที่เคยอัพสเตตัส ขึ้นรูปโพรไฟล์น้องตุ๊กตาหรือตัวเองคู่กับตุ๊กตา ให้ข้อมูลว่า “เริ่มมี
อาการไม่กล้าโพสต์ เพราะอายที่จะถูกเพื่อนในเครือข่ายมองว่า “ไร้สติ” หรือกระทั่ง “บ้า”
นอกจากนี้ ยังให้ข้อมูลว่า “มีคนสร้างเพจส�าหรับการ “ต่อต้าน” ตุ๊กตาลูกเทพขึ้นมาโดยเฉพาะ มีภาพล้อเลียน
เสียดสี ด่าทอ แสดงความไม่พอใจต่อฝ่ายนิยมตุ๊กตาลูกเทพ”
• ผู้ให้ข้อมูลที่เคยน�าตุ๊กตาลูกเทพไปในที่สาธารณะด้วย รู้สึกไม่สบายใจ และเกิดความอับอายจากการถูกคนใน
สังคมใช้กิริยาอาการหรือค�าพูดในลักษณะดูหมิ่นเหยียดหยามหรือเกลียดชัง บางรายกล่าวว่ารู้สึกอายและเลิกการน�า
ตุ๊กตาติดตัวไปในที่สาธารณะ
• ผู้ให้ข้อมูลเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโทในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งให้ข้อมูลว่า อาจารย์ผู้สอนได้ประกาศว่า “ถ้า
นักศึกษาคนไหนน�าตุ๊กตาลูกเทพมาเรียน จะไม่อนุญาตให้เข้าชั้นเรียน โปรดท�าตัวให้เหมาะสมกับผู้มีการศึกษา”
• ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มหนึ่งซึ่งมีงานอดิเรกในสะสมตุ๊กตา ให้ข้อมูลซึ่งสรุปได้ว่า “ถูกเหมารวมว่าตุ๊กตาสะสมเป็นตุ๊กตา
ลูกเทพและได้รับการปฏิบัติจากบุคคลต่าง ๆ ในที่สาธารณะในลักษณะของการดูถูก การใช้ถ้อยค�าดูถูก การปฏิเสธการ
บริการ นอกจากนี้ ในการสื่อสารข้อมูลระหว่างกลุ่มผู้สะสมตุ๊กตาที่เคยโพสต์อย่างเปิดเผยก็ต้องปรับเปลี่ยนลดการโพสต์
ในหน้าสาธารณะลงเหลือเพียงในกลุ่มปิด เพราะเกิดการดูถูกจากบุคคลอื่นในสังคมออนไลน์”
• เนื้อหาค�าพูด ถ้อยค�า หรือการสื่อสารเกี่ยวกับตุ๊กตาลูกเทพที่ก่อให้เกิดวามเกลียดชัง มีหลากหลาย เช่น
“การอุ้มตุ๊กตาลูกเทพเป็นสิ่งดี เพราะท�าให้แยกได้ระหว่างคนดีกับคนบ้า” “พวกชอบตุ๊กตาลูกเทพเป็นคนไร้สติ งมงาย
เบาปัญญา ไร้การศึกษา”
นอกจากในระดับการสื่อสารของบุคคลทั่วไปแล้ว ผู้ให้ข้อมูลยังกล่าวว่า ได้รับการปฏิเสธบริการบางอย่าง เช่น
ร้านอาหาร สถานที่พักบางแห่ง ประกาศนโยบายไม่ให้บริการกับลูกค้าที่น�าตุ๊กตาลูกเทพเข้ามา ในประกาศเหล่านั้น
บางประกาศมีถ้อยค�าแสดงความเกลียดชังหรือดูถูก เช่น เรียกว่า “ตุ๊กตาผี” หรือใช้ค�าในท�านองประชดประชัน เช่น
“ไม่สนับสนุนความงมงายไร้สติ” “ไม่สนับสนุนตัวอย่างไม่ดีแก่เยาวชน” เป็นต้น
• ผู้ให้ข้อมูลเห็นว่า “การสื่อสารที่แสดงความดูหมิ่น เกลียดชัง ผู้ชอบตุ๊กตาลูกเทพ เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
และเป็นการเลือกปฏิบัติต่อคนที่มีความชื่นชอบ รสนิยม ความเชื่อ ที่แตกต่างกัน” “การสื่อสารแสดงความเกลียดชัง
เป็นการตีตราถึงความงมงาย และแบ่งแยกคนในสังคมตามความเชื่อที่แตกต่างกัน” ผู้ให้ข้อมูลบางรายกล่าวว่า “ถึงแม้
ความชื่นชอบตุ๊กตาลูกเทพ ไม่ถูกต้องตามหลักศาสนาพุทธ หรืออาจไม่อยู่ในศาสนาใด แต่ก็เป็นสิทธิในความเชื่ออย่าง
หนึ่ง”
๙ ประเด็นปัญหาอื่น ๆ
• ผู้ให้ข้อมูลกล่าวว่า “การที่ธนาคารแห่งหนึ่งให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากส�าหรับบัญชีที่เปิดทางระบบอิเล็กทรอนิกส์
สูงกว่าบัญชีที่เปิดตามระบบปกติ ผู้ให้ข้อมูลเห็นว่าเป็นการเลือกปฏิบัติส�าหรับบุคคลที่ไม่ใช้อินเทอร์เน็ตแบงค์กิ้ง”
78