Page 60 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 60
กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
๒๒
ค�าร้องที่ ๔๗๘/๒๕๕๔: หลักความระมัดระวัง (Duty of Care) ในกรณีบริการสาธารณะ และ
การเยียวยาความเสียหาย
ผู้ร้องทั้งสามเป็นผู้ปกครองของนักเรียนที่บาดเจ็บและเสียชีวิตจากเหตุไฟไหม้บ้านพักครู ได้ร้องเรียนส�านักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขอความช่วยเหลือกรณีบุตรเสียชีวิตและบาดเจ็บจากเหตุไฟไหม้บ้านพักครู
โรงเรียนในจังหวัดตาก เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓ แต่ส�านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีมติไม่
จ่ายเงินชดเชยความเสียหายจากกรณีดังกล่าวให้กับครอบครัวผู้ร้องทั้งสาม
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณาและมอบหมายให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิ
มนุษยชนด้านเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และความเสมอภาคของบุคคล ด�าเนินการตรวจสอบ (รายงานผลการ
พิจารณา ที่ ๖๓๒/๒๕๕๘) ได้รับการชี้แจงจากส�านักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดตาก ดังนี้
ข้อ ๑ ส�านักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดตาก เขต ๑ ได้ชี้แจงว่า ส�านักงานฯ ได้ช่วยเหลือและ
อ�านวยความสะดวกเบื้องต้น ดูแล และเยี่ยมนักเรียนที่บาดเจ็บ ร่วมงานศพนักเรียนที่เสียชีวิต ประสาน
ส่วนงานราชการและหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน น�าเงินบริจาคช่วยเหลือผู้ปกครองรายละ
หนึ่งแสนเศษ
ข้อ ๒ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิด
ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ผลการสอบข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าเหตุไฟไหม้เกิดจากความจงใจ หรือประมาท
เลินเล่อของเจ้าหน้าที่ และได้รายงานให้กระทรวงการคลังพิจารณา กระทรวงการคลังโดยกรมบัญชีกลาง
แจ้งว่าให้รอผลค�าพิพากษาของศาลจังหวัดตากที่ผู้ปกครองนักเรียนฟ้องคดีให้ส�านักงานพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาจังหวัดตาก เขต ๑ ส�านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และกระทรวงศึกษาธิการ
ชดใช้ค่าเสียหาย
ข้อ ๓ ผู้ปกครองของนักเรียนที่เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บท�าหนังสือยื่นขอเงินชดเชย แต่ส�านักงานการศึกษา
ขั้นพื้นฐานแจ้งว่าไม่สามารถจ่ายค่าชดเชยได้เพราะเหตุเพลิงไหม้ครั้งนี้มิได้เกิดขึ้นเพราะความประมาท
เลินเล่อของเจ้าหน้าที่โรงเรียน จึงไม่มีผู้ที่ต้องรับผิดทางละเมิด
คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า การศึกษาเป็นเรื่องที่รัฐต้องจัดท�าบริการสาธารณะ การที่บุคคลเข้าไป
ภายในพื้นที่ที่เป็นแหล่งบริการสาธารณะ เป็นความรับผิดชอบของรัฐ ซึ่งรวมถึงความปลอดภัยของชีวิตร่างกาย
ทรัพย์สินในพื้นที่ที่เกิดเหตุ และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่ระมัดระวัง (Duty of Care) ดังนั้น พื้นที่บริเวณ
โรงเรียนก็เป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องดูแลสอดส่องให้ความปลอดภัยต่อเด็กนักเรียน เนื่องจากการให้การศึกษาไม่ใช่
เพียงการเรียนการสอนเท่านั้น หมายรวมถึงการดูแลความปลอดภัยให้เด็กด้วย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโรงเรียนจัด
อาหารและที่พักให้เด็กในระยะที่ศึกษาอยู่ เช่นนี้เป็นการยอมรับว่าโรงเรียนมีหน้าที่ตามหลัก “Duty of Care” แล้ว
นอกจากนี้ ยังอาจพิจารณาว่าบุคลากรของโรงเรียนก็มีลักษณะเป็นผู้ปกครอง ตามนิยามมาตรา ๔ ให้ความหมาย
ไว้ “ผู้ซึ่งรับเด็กไว้อุปการะเลี้ยงดูหรือซึ่งเด็กนั้นอาศัยอยู่ด้วย” และเมื่อเป็นผู้ปกครองของเด็กย่อมมีหน้าที่ตามนัย
มาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยต้องคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่อยู่ในความปกครอง
ดูแลไม่ให้ตกอยู่ในภาวะอันน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ
59