Page 58 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 58

กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ




                 แห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งด�าเนินการตรวจสอบ
                 ข้อเท็จจริงทั้งจากฝ่ายผู้ร้องและผู้ถูกร้อง
                     คณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านเด็ก สตรี และความเสมอภาคของบุคคล มีมติเห็นว่า

                 (รายงานผลการพิจารณา ที่ ๑๙๔/๒๕๕๗) การที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่าบุตรสาวไม่ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาเป็น
                 นักเรียนดุริยางค์ทหารบก เนื่องจากมีปานบนใบหน้านั้น จำกกำรตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่ำ กำรที่บุตรสำวของ

                 ผู้ร้องไม่ผ่ำนกำรสอบคัดเลือกนั้นเป็นผลจำกคะแนนสอบ ไม่เกี่ยวข้องกับปำนบนใบหน้ำแต่อย่ำงใด จึงไม่ปรากฏ
                 ว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนของบุตรสาวผู้ร้อง แต่เพื่อยุติข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้น คณะอนุกรรมการฯ ได้จัดให้ผู้ร้องและ
                 ผู้ถูกร้องเจรจาไกล่เกลี่ยกันจนได้ข้อยุติ โดยผู้บัญชาการดุริยางค์ทหารบก (ผบ.คย.ทบ.) ยินดีให้ความช่วยเหลือบุตร

                 สาวของผู้ร้อง ดังนี้
                     ๑) ช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้น จ�านวน ๒๐,๐๐๐ บาท

                     ๒) ในการรักษาใบหน้าของลูกสาวผู้ร้องแต่ละครั้งต่อเนื่องเป็นระยะเวลา ๑ ปี นับจากกันยายน ๒๕๕๖ -
                        ๓๐ กันยายน ๒๕๕๗ ผบ.ดย.ทบ. รับว่าจะจ่ายค่ารักษาตามจริงไม่เกินครั้งละ ๓,๐๐๐ บาท โดยต้องน�า
                        ใบเสร็จมาเบิก

                     ๓) ผบ.ดย.ทบ. รับว่าจะช่วยเหลือเรื่องการประสานการเรียนดนตรีของบุตรสาวผู้ร้องและสนับสนุนค่าใช้จ่าย
                        เรียนดนตรีสัปดาห์ละ ๑ วัน ๆ ละ ๒ ชั่วโมง ๖๐๐ บาทต่อวัน เพื่อพัฒนาความสามารถของบุตรสาวผู้ร้อง
                        จนถึงสิ้นปี ๒๕๕๖

                     ผู้ร้องยินดีและท�าบันทึกข้อตกลงไว้เป็นหลักฐาน ตามมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
                 แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงเห็นควรให้ยุติเรื่อง



                     อย่างไรก็ตาม คณะอนุกรรมการฯ ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยดุริยางค์ทหารบก พ.ศ.
                 ๒๕๕๓ ตามผนวกข้อ ๓ เกี่ยวกับบัญชีโรคหรือความผิดปกติหรือความพิการซึ่งขัดต่อการเป็นนักเรียนดุริยางค์ทหารบก

                 ข้อย่อย ๓.๑.๑.๓ ซึ่งระบุว่า “แผลเป็นหรือปำนที่หน้ำมีเนื้อที่ตั้งแต่ ๑.๕ ตำรำงนิ้วขึ้นไป หรือมีควำมยำวมำก
                 จนดูหน้ำเกลียด” เป็นระเบียบที่อำจท�ำให้เกิดกำรเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม จึงมีความเห็นเสนอไปยังกองทัพบก
                 เพื่อพิจารณาทบทวนระเบียบดังกล่าวให้เหมาะสม และสอดคล้องกับหลักการความเสมอภาคซึ่งรับรองไว้ตาม

                 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๐ ต่อไป
                     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณาค�าร้องและความเห็นของคณะอนุกรรมการฯ แล้วเห็นว่า การ

                 ที่บุตรสาวของผู้ร้องไม่ผ่านการสอบคัดเลือกเป็นผลจากคะแนนสอบข้อเขียน มิใช่เพราะเหตุที่มีปานบนใบหน้า
                 บุตรสาวผู้ร้องจึงไม่ถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพในการศึกษาแต่อย่างใด ประกอบเพื่อยุติความขัดแย้ง ผู้ร้องและผู้ถูก
                 ร้องได้เจรจาไกล่เกลี่ยกันจนได้ข้อยุติ และได้จัดท�าบันทึกข้อตกลงไว้เป็นหลักฐานแล้ว ตามมาตรา ๒๗ แห่งพระราช

                 บัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงไม่มีการกระท�าละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้น
                     กรณีระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยดุริยางค์ทหารบก พ.ศ. ๒๕๕๓ ตามผนวกข้อ ๓ เกี่ยวกับบัญชีโรคหรือความ
                 ผิดปกติ หรือความพิการซึ่งขัดต่อการเป็นนักเรียนดุริยางค์ทหารบก ข้อย่อย ๓.๑.๑.๓ ซึ่งระบุว่า “แผลเป็นหรือ

                 ปานที่หน้ามีเนื้อที่ตั้งแต่ ๑.๕ ตารางนิ้วขึ้นไป หรือมีความยาวมากจนดูหน้าเกลียด” คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
                 แห่งชาติเห็นว่า อำจท�ำให้เกิดกำรเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม จึงเห็นควรมีข้อเสนอแนะไปยังกองทัพบก เพื่อ
                 พิจำรณำทบทวนระเบียบดังกล่ำว ให้มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับหลักความเสมอภาคซึ่งรับรองไว้ตาม

                 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๐ ต่อไป




                                                               57
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63