Page 57 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 57
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
๑๘
ค�าร้องที่ ๓๔๔/๒๕๕๓: กรณีผู้อ�านวยการโรงเรียนของรัฐแห่งหนึ่ง ไม่อนุญาตให้นักเรียนที่นับถือ
ศาสนาอิสลามแต่งกายเครื่องแบบตามความเชื่อทางศาสนา
ผู้ร้องร้องเรียนเมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๓ ว่าผู้อ�านวยการโรงเรียน บ. ไม่อนุญาตให้นักเรียนที่นับถือศาสนา
อิสลามแต่งกายเครื่องแบบตามความเชื่อทางศาสนาอิสลาม ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อ ๑๒ ที่ก�าหนดเครื่องแบบส�าหรับนักเรียนที่นับถือศาสนาอิสลาม
ไว้ว่า นักเรียนจะแต่งกายตามระเบียบดังกล่าวหรือจะแต่งกายตามแบบที่สถานศึกษาก�าหนดได้ตามความสมัครใจ
ผู้ร้องจึงขอให้ตรวจสอบ
ความเห็นและมติของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เห็นว่า (รายงานผลการพิจารณา ที่ ๔๕๗/๒๕๕๖)
การที่โรงเรียน บ. ออกระเบียบและแนวปฏิบัติในการแต่งเครื่องแบบนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอน
ปลาย ว่าด้วยแนวปฏิบัติตนของนักเรียน พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งเป็นระเบียบที่ออกก่อนระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วย
เครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. ๒๕๕๑ จึงเป็นเหตุให้ไม่มีข้อก�าหนดตามข้อ ๑๒ ที่ได้ก�าหนดเรื่องเครื่องแบบของนักเรียนที่
นับถือศาสนาอิสลาม ดังนั้น จึงเห็นควรให้ผู้ถูกร้องพิจารณาแก้ไขระเบียบของโรงเรียนให้สอดคล้องกับระเบียบของ
กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เห็นว่าการออกระเบียบใดๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนานั้นจะต้อง
เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๗ เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ตาม
ลักษณะค�าร้องนี้อีก ควรให้กระทรวงศึกษาธิการติดตาม ก�ากับดูแลทั้งหมดหรือออกระเบียบของแต่ละสถานศึกษา
ให้เป็นไปตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการต่อไป
๑๙
ค�าร้องที่ ๒๑๙/๒๕๕๖: กรณีผู้ร้องอ้างว่านักเรียนไม่ผ่านการคัดเลือกเพราะปานบนใบหน้า
เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ผู้ร้องร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ว่าบุตรสาวของตน
เรียนที่โรงเรียน ส. ได้สมัครสอบคัดเลือกเป็นนักเรียนดุริยางค์ทหารบก ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ และปีการศึกษา
๒๕๕๖ ซึ่งบุตรสาวสอบไม่ผ่านทั้งสองครั้ง แต่ในการสอบเมื่อปีการศึกษา ๒๕๕๖ มีเจ้าหน้าที่ของโรงเรียนดุริยางค์
ทหารบก อ้างว่าเป็นอาจารย์ของโรงเรียนได้เรียกผู้ร้องไปพบและแจ้งว่าบุตรสาวของผู้ร้องท�าคะแนนได้ดี น�้าหนัก
ส่วนสูง ผิวพรรณ ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด แต่เนื่องจากบุตรสาวมีปานบนใบหน้า ท�าให้ไม่ผ่านการคัดเลือก จากกรณี
ดังกล่าวผู้ร้องแจ้งว่าบุตรสาวมีอาการเครียด สภาพจิตใจย�่าแย่ จนต้องเข้ารักษาที่สถาบันจิตเวชศาสตร์ และเข้ารับ
การรักษาปานบนใบหน้า จึงขอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตรวจสอบและขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รับผิดชอบ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นประเด็นเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพทางการศึกษา
จึงมอบหมายให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านเด็ก สตรี และความเสมอภาคของบุคคล
ด�าเนินการตรวจสอบ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๗
พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
56