Page 56 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 56
กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
• นโยบายยุบ ควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก อาศัยตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการจัดตั้ง รวม หรือ
เลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๐ และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งการด�าเนินการ
ดังกล่าวส่งผลกระทบให้ความสุขของเด็กลดน้อยลง เด็กเล็กต้องย้ายโรงเรียนและปรับพฤติกรรมการด�ารงชีวิต ต้อง
เดินทางไกลขึ้น ผู้ปกครองต้องมีค่าใช้จ่ายและภาระเพิ่มขึ้นจากการเดินทางส่งบุตรหลาน หรือจ้างรถยนต์ส่งบุตร
หลานไปโรงเรียน ผลของการใช้ระเบียบดังกล่าวไม่ถูกต้องและไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๗๘ (๑) (๔) (๕) และ มาตรา ๘๐ (๑) (๓) และ (๔) และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กซึ่ง
เป็นพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี เป็นการกระทบสิทธิเด็กในทางการศึกษา อันเป็นการลิดรอน
สิทธิเด็กเป็นการทั่วไป รวมทั้งบุคคลในครอบครัวเด็กด้วย
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงเสนอมาตรการการแก้ไขปัญหาต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
๑) คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ต้องจัดการศึกษา
ให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๔๙ “บุคคลย่อมมีสิทธิ
เสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย...”
และให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ข้อ ๓ ข้อ ๒๘ ได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มาตรา ๔ โดยการกระท�าของหน่วยงานรัฐจะต้องค�านึงถึงประโยชน์สูงสุด
เป็นล�าดับแรก เด็กต้องได้รับการศึกษาบนพื้นฐานของโอกาสที่เท่าเทียมกันและมีคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การศึกษาภาคบังคับที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งต้องไม่มีเด็กที่เข้าไม่ถึงโอกาสการศึกษา
๒) กระทรวงศึกษาธิการควรปรับยุทธศาสตร์การบริหารงบประมาณในการบริหารการศึกษาส�าหรับโรงเรียน
ขนาดเล็ก โดยค�านึงถึงหลักการดังกล่าวในข้อ ๑) จึงควรปรับลดงบประมาณประจ�าปีที่ไม่จ�าเป็น และไม่คุ้มการ
ลงทุน นอกจากนี้ ให้เน้นเป้าหมายพัฒนาครู บุคลากรทางการศึกษา หลักสูตร วิธีการสอน รวมทั้งระดมบุคลากรที่
มีศักยภาพ เช่น ปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อเข้ามาสนับสนุนการเรียนการสอนในโรงเรียน
๓) ควรพิจารณายกเลิกหรือปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๐ ในส่วนที่เกี่ยวกับการรวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
๔) คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรให้ความส�าคัญ
กับนโยบายการกระจายอ�านาจการจัดการศึกษา ซึ่งก�าหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
และพระราชบัญญัติก�าหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอ�านาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒
๕) การจัดการศึกษาต้องมีนโยบายเกี่ยวกับการจัดการศึกษาที่ตระหนังถึงการมีส่วนร่วมของบิดามารดา
ผู้ปกครอง ชุมชม และภาคประชาสังคม ภายใต้แนวคิดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย ผ่านความสัมพันธ์ของ
ครอบครัว ชุมชน สังคม วัฒนธรรมในท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อม เพื่อเด็กได้พัฒนาในมิติที่รอบด้าน ทั้งนี้ ขอทราบผล
การด�าเนินการภายใน ๖๐ วันนับแต่ได้รับรายงานฉบับนี้
55