Page 37 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 37
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
๑.๓ ระเบียบวิธีการศึกษาวิจัย
วิธีการด�าเนินการวิจัย (Research Methodology) ส�าหรับงานวิจัยนี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Quali-
tative) โดยวิธีการทบทวนวรรณกรรม วิเคราะห์ สังเคราะห์ โดยมีการศึกษาเชิงเปรียบเทียบ (Comparative
Analysis) กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศ และกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้อง ในประเด็นความเสมอภาค
และการไม่เลือกปฏิบัติ ทั้งในส่วนของสภาพการเลือกปฏิบัติ เหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ ประเด็นการเลือกปฏิบัติ
๑.๔ ขอบเขต ขั้นตอน และวิธีการด�าเนินการวิจัย
๑.๔.๑ รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กรอบแนวคิด ความเห็นทั่วไป
ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ของกลไกด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาขาติ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
(Content Analysis)
๑.๔.๒ รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์กฎหมาย เกี่ยวกับความเสมอภาค (Equality) และการไม่เลือกปฏิบัติ
(Non – Discrimination) ของต่างประเทศ โดยเลือกกฎหมายจากทั้งในประเทศที่อยู่ในระบบประมวลกฎหมาย (Civil
Law System) และระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Common Law System) เช่น กฎหมายกลุ่มสหภาพยุโรป สหราช
อาณาจักร กฎหมายสหรัฐอเมริกา กฎหมายแคนาดา กฎหมายออสเตรเลีย กฎหมายประเทศสวีเดน กฎหมายประเทศ
ฟินแลนด์ รวมทั้งกฎหมายกลุ่มประเทศในเอเชีย เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์
เนื้อหา (Content Analysis)
๑.๔.๓ ศึกษา รวบรวม วิเคราะห์สภาพปัญหาข้อเท็จจริงของการเลือกปฏิบัติ เหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ ประเด็น
หรือมิติของการเลือกปฏิบัติในต่างประเทศ เพื่อน�ามาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกรณีของไทย
๑.๔.๔ ศึกษาข้อมูลค�าร้องและรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิ
มนุษยชนแห่งชาติที่เกี่ยวข้องกับประเด็นความเสมอภาค (Equality) และการไม่เลือกปฏิบัติ (Non – Discrimination)
เพื่อให้ได้มาซึ่งสภาพข้อเท็จจริงและปัญหาการเลือกปฏิบัติในมิติต่าง ๆ
๑.๔.๕ จัดให้มีการรับฟังความเห็นผู้เกี่ยวข้อง กล่าวคือ ผู้แทนของกลุ่มที่อาจถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่ง
ความแตกต่างในเรื่องต่าง ๆ ตามที่ก�าหนดในกฎหมายไทย ผู้แทนของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนของหน่วยงาน
ภาคเอกชน ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การสัมภาษณ์ หรือการจัดประชุมกลุ่มย่อย หรือการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น
เป็นต้น เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริง สภาพปัญหาการเลือกปฏิบัติในด้านต่าง ๆ
๑.๔.๖ น�าผลการศึกษาเกี่ยวกับสภาพปัญหา ข้อเท็จจริง ประเด็นการเลือกปฏิบัติในด้านต่าง ๆ รวมทั้ง
ปัญหาต่าง ๆ จากการรับฟังความคิดเห็น มาวิเคราะห์กับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์
เนื้อหา (Content Analysis) พร้อมทั้งการวิเคราะห์เปรียบเทียบ (Comparative Analysis) กฎหมายไทยและกฎหมาย
ต่างประเทศ เพื่อน�าไปสู่ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปรับปรุงกฎหมาย โดยเสนอให้มีการบัญญัติกฎหมายกลางว่าด้วย
ความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติในประเทศไทย หรือข้อเสนอในระดับการจัดให้มีมาตรฐาน และ/หรือแนวทาง
ปฏิบัติอื่น ๆ
๑.๔.๗ จัดเวทีร่วมกับส�านักงาน กสม. เพื่อให้ความรู้ผลการศึกษาวิจัย เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาค
และการไม่เลือกปฏิบัติ โดยผู้เข้าร่วมประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ส�านักงาน กสม. และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
36