Page 36 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 36

กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ





                                ส่วนแรก  ศึกษาแนวคิด  ความหมาย  ของการเลือกปฏิบัติและความเท่าเทียมกัน  โดยจ�าแนก
               ประเด็นศึกษาย่อย ๆ ดังนี้
                                • ศึกษาลักษณะและความหมายของการเลือกปฏิบัติ ทั้งการเลือกปฏิบัติโดยตรงและโดยอ้อม

                                • ศึกษาหลักการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม (Unfair Discrimination) ตามกฎหมายระหว่างประเทศ
               กฎหมายต่างประเทศ และกฎหมายไทย
                                • ศึกษาการเลือกปฏิบัติตามกฎหมายไทยปัจจุบันเปรียบเทียบกับกรอบการเลือกปฏิบัติตาม

               กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและกฎหมายต่างประเทศ เพื่อชี้ให้เห็นการเลือกปฏิบัติที่สอดคล้องกับ
               กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และการเลือกปฏิบัติในความหมายที่กว้างกว่า “เหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ”

                                • ศึกษาหลักความเท่าเทียมกันหรือหลักความเสมอภาค (Principle of Equality)
                                • ศึกษามาตรการยืนยันสิทธิเชิงบวก (Affirmative Action)
                                • ศึกษาขอบเขตของ “การเลือกปฏิบัติ” ตามกฎหมายไทยและต่างประเทศ

                                • ศึกษารูปแบบของการบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติ เพื่อเป็นตัวแบบ (Model) ในการ
               น�าเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อไป



                                ส่วนที่สอง ศึกษาสภาพข้อเท็จจริงและประเด็นปัญหาการเลือกปฏิบัติ จากค�าร้องต่อคณะกรรมการ
               สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และสภาพข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการสัมภาษณ์ ประชุมกลุ่มย่อย รับฟังความคิดเห็น โดยจ�าแนก

               ประเด็นวิเคราะห์ตามสภาพปัญหากรณีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น การเลือกปฏิบัติในกรณีบริการภาครัฐ กรณีการให้นม
               บุตรจากอกแม่ (Breastfeeding) การเลือกปฏิบัติในมิติของบริการภาครัฐกรณีการศึกษา การเลือกปฏิบัติในกรณีการ
               คุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) การสื่อสารที่ท�าให้เกิดความเกลียดชัง (Hate Speech) การคุ้มครองผู้ถูก

               เลือกปฏิบัติในภาคเอกชน  การเลือกปฏิบัติในด้านสินค้าและบริการ  การเลือกปฏิบัติด้านสินค้าและบริการต่อผู้ติดเชื้อ
               เอชไอวี การเลือกปฏิบัติด้วยเหตุอัตลักษณ์ทางเพศ (Gender Identity) กับการใช้ห้องน�้าสาธารณะ กรณีการเลือก
               ปฏิบัติเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการส�าหรับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ กรณีการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุตาบอดสี

               กรณีการเลือกปฏิบัติในมิติการเกณฑ์ทหาร เป็นต้น
                                การศึกษาในส่วนแรก จะท�าให้เกิดความเข้าใจแนวคิด ความหมาย ขอบเขต ของการเลือกปฏิบัติ

               ในกรอบกฎหมายสิทธิมนุษยชน  รวมทั้งการจ�าแนกการเลือกปฏิบัติตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนกับการเลือกปฏิบัติใน
               กรอบกฎหมายอื่นหรือในมิติอื่น การศึกษาในส่วนที่สองเป็นการชี้ให้เห็นการปรับใช้หลักกฎหมายเกี่ยวกับการห้าม
               เลือกปฏิบัติในมิติต่าง ๆ  อันท�าให้เห็นว่ากฎหมายไทยที่เป็นอยู่ในปัจจุบันครอบคลุมการห้ามเลือกปฏิบัติตามกฎหมาย

               ระหว่างประเทศเพียงใด อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยมีข้อพิจารณาในเบื้องต้นว่า เนื่องจากการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักใน
               การศึกษาภาพรวมของปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับหลักความเท่าเทียมกันหรือหลักความเสมอภาคและการห้ามเลือก

               ปฏิบัติในประเทศไทย  โดยมิได้มุ่งศึกษาเฉพาะกรณีปัญหากรณีใดกรณีหนึ่ง  ดังนั้น  ในส่วนที่สอง  จึงเป็นเพียงการ
               หยิบยกประเด็นปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการส�ารวจ ศึกษา และการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ จัดกลุ่มสนทนา
               รับฟังความคิดเห็น มาวิเคราะห์ภายใต้กรอบแนวคิดกฎหมายสิทธิมนุษยชน เพื่อสะท้อนให้เห็นปัญหาในภาพรวมว่า

               ภายใต้กฎหมายไทยที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้น การคุ้มครองความเท่าเทียมกันและการห้ามเลือกปฏิบัติเพียงพอและ
               ครอบคลุมแล้วหรือไม่ เพียงใด อันจะน�าไปสู่ข้อเสนอแนะต่อไป








                                                              35
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41