Page 32 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 32
กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
• อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ ก�าหนดเหตุแห่งการเลือก
ปฏิบัติครอบคลุม “เชื้อชาติ สีผิว เชื้อสาย หรือชาติก�าเนิด หรือเผ่าพันธุ์ก�าเนิด” 16
• อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ ก�าหนดเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติเฉพาะกรณี “ความพิการ” 17
นอกจากนี้ ในระดับกฎหมายภายในประเทศ ก็ได้มีการก�าหนดเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติไว้ใน
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ส�าหรับกฎหมายไทยนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ก�าหนดเหตุ
แห่งการเลือกปฏิบัติครอบคลุม “ถิ่นก�าเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะ
ของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่
ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ...”
ดังนั้น ในเบื้องต้นอาจชี้ให้เห็นได้ว่า ปัจจัยประการแรกที่จะน�ามาใช้ในส่วนของกรอบการศึกษา
วิจัยก็คือ เหตุแห่งการเลือกปฏิบัติซึ่งประกอบด้วยเหตุต่าง ๆ เช่น เชื้อชาติ เชื้อสาย ชาติก�าเนิด เผ่าพันธุ์ก�าเนิด ชาติ
หรือสังคมดั้งเดิม สีผิว เพศ รสนิยมทางเพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือความคิดเห็นอื่นใด ความ
พิการ ทรัพย์สิน ก�าเนิด หรือสถานะอื่น เป็นต้น
๒) มิติของการเลือกปฏิบัติ (Area of Discrimination , Area Covered)
การปฏิบัติที่แตกต่างกันอันเกี่ยวข้องกับเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติอาจเกี่ยวข้องกับประเด็นต่าง ๆ
หรือเรียกได้ว่าเกิดขึ้นในมิติต่าง ๆ ของบุคคลในการด�าเนินชีวิต เช่น การท�างาน การศึกษา การจ้างงาน บริการภาครัฐ
การประกอบธุรกิจ การประกอบวิชาชีพ การเป็นสมาชิกองค์กร สินค้าและบริการในภาคเอกชน การประชุมสัมมนา
กิจกรรมสาธารณะ เป็นต้น จะเห็นได้ว่ามิติของการเลือกปฎิบัติอาจมีความเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทั้งสองประการแล้วท�าให้สามารถจ�าแนกสภาพปัญหา
ได้หลายประการ เช่น
• การเลือกปฏิบัติในมิติของการจ้างงานและการประกอบอาชีพ อาจเกี่ยวข้องกับสภาพปัญหา
เช่น การไม่รับบุคคลที่ติดเชื้อ HIV เข้าท�างาน การก�าหนดคุณสมบัติด้านความพิการของบุคคล
การเลือกปฏิบัติในการด�าเนินการขั้นตอนต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการจ้างแรงงาน เช่น การสรรหา
(Recruitment) การคัดเลือก (Selection) การเลือกปฏิบัติโดยไม่จ้างบุคคลด้วยเหตุแห่งเชื้อชาติ
ศาสนา เช่น การไม่รับผู้หญิงที่นับถือศาสนาอิสลามเข้าท�างาน การล่วงละเมิดทางเพศในบริบท
หรือสภาพแวดล้อมของการท�างาน (Sexual Harassment) ที่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุ
แห่งเพศประการหนึ่ง
• การเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวกับการศึกษาและฝึกอบรม อาจเกี่ยวข้องกับสภาพปัญหา เช่น การปฏิเสธ
ไม่รับบุคคลเข้าศึกษาด้วยเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติต่าง ๆ เช่น เชื้อชาติ ศาสนา เพศ สภาพร่างกาย
ความพิการ ฯลฯ
16
From “Sandra Lovelace v. Canada” Communication No. 24/1977: Canada 30/07/81, UN Doc. CCPR/
C/13/D/24/1977)
17
From “Brooks v. The Netherlands” (UN Doc CCPR/C/29/D/172/1984)
31