Page 31 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 31

ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ





          รูปแบบของการปฏิบัติที่มีความแตกต่างกันระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังมีกรณีการเลือกปฏิบัติโดยอ้อม ซึ่ง
          เป็นกรณีที่แม้การปฏิบัติหรือกฎเกณฑ์นั้นมีลักษณะเป็นกลาง (Neutral) แต่ส่งผลกระทบ (Impact) ในทางลบต่อบุคคล
          ที่เกี่ยวข้องกับเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม กฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายต่างประเทศได้ก�าหนด

          นิยามและขอบเขตของการเลือกปฏิบัติโดยตรงและโดยอ้อมแตกต่างกันไป
                         ด้วยเหตุนี้ จึงน�ามาสู่ปัญหาที่ควรศึกษาวิจัยว่า ในปัจจุบันประเทศไทยมีสภาพปัญหาของการเลือก
          ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ อย่างไรบ้าง มาตรการทางกฎหมายที่เป็นอยู่มีความเหมาะสมเพียงพอและสอดคล้องกับหลักการ

          สากลของสนธิสัญญาฉบับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือไม่ ประเทศไทยควรมีการออกกฎหมายต่อต้านการเลือกปฏิบัติที่เป็น
          องค์รวมหรือเป็นกฎหมายกลางที่ครอบคลุมการเลือกปฏิบัติในมิติหรือประเด็นต่าง ๆ หรือไม่ โดยควรท�าการศึกษาวิจัย

          กฎหมายต่างประเทศเพื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายไทยในเรื่องดังกล่าวด้วย


                  ๑.๒.๓  กรอบแนวคิดการวิจัย (Conceptual Framework)

                         จากความหมายดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า หลักความเสมอภาคเป็นหลักส�าคัญซึ่งกฎหมายระหว่าง
          ประเทศและกฎหมายภายในที่เกี่ยวข้องต่างรับรองไว้ ทั้งนี้ เพื่อบรรลุถึงหลักดังกล่าวกฎหมายจึงต้องขจัดหรือป้องกัน

          พฤติกรรมบางอย่างซึ่งส่งผลเป็นอุปสรรคขัดขวางต่อหลักความเสมอภาคหรือหลักความเท่าเทียมกัน ซึ่งได้แก่ การ
          ปฏิบัติที่แตกต่างกันระหว่างสิ่งที่เหมือนกัน หรือการปฏิบัติที่เหมือนกันต่อสิ่งที่ต่างกัน รวมทั้งการปฏิบัติที่เหมือนกัน
          แต่ส่งผลให้เกิดความเสียเปรียบต่อบุคคลบางกลุ่ม การปฏิบัติเหล่านี้อาจเรียกได้ว่า“การเลือกปฏิบัติ” ทั้งนี้ หากการ

          ปฏิบัติที่แตกต่างนั้น มีลักษณะที่สัมพันธ์กับ “เหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ” (Ground of Discrimination) ต่าง ๆ ตาม
          ที่กฎหมายก�าหนดไว้  โดยเหตุเหล่านั้นมีความเกี่ยวข้องกับคุณลักษณะเฉพาะของกลุ่มบุคคลในสังคม  ซึ่งมักเป็นกลุ่ม
          ที่มีความเปราะบางหรือมีประสบการณ์ที่ถูกกีดกัน ถูกผลักให้เป็นกลุ่มชายขอบ (Marginalized Group) โดยการเลือก

          ปฏิบัติอาจเกิดขึ้นในมิติต่าง ๆ ของการด�าเนินชีวิตในสังคม เช่น การเลือกปฏิบัติในมิติของการจ้างแรงงานและการ
          ประกอบอาชีพ  การเลือกปฏิบัติในมิติของการบริการภาครัฐหรือภาคเอกชน  เป็นต้น  ด้วยเหตุนี้จะเห็นได้ว่าหลักการ
          ห้ามเลือกปฏิบัติจะน�าไปสู่ความเท่าเทียมกันในท้ายที่สุด ส�าหรับการศึกษาวิจัยหลักการห้ามเลือกปฏิบัติในงานวิจัยนี้

          จึงน�าปัจจัยสองประการซึ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันมาก�าหนดกรอบแนวคิดการวิจัย ได้แก่
                         ๑) เหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ (Grounds of Discrimination, Protected Ground)

                            การปฏิบัติที่แตกต่างกันจะจัดเป็นการเลือกปฏิบัติซึ่งขัดต่อหลักกฎหมายระหว่างประเทศ
          เมื่อการปฏิบัตินั้นเกี่ยวข้องกับ “เหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ” เมื่อพิจารณาหลักกฎหมายระหว่างประเทศพบว่า เหตุแห่ง
          การเลือกปฏิบัติมีการระบุไว้ เช่น

                            • กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ก�าหนดเหตุแห่งการเลือก
                                  ปฏิบัติครอบคลุม  “เชื้อชาติ  สีผิว  เพศ  ภาษา  ศาสนา  ความคิดเห็นทางการเมืองหรือความ

                                 คิดเห็นอื่นใด ชาติหรือสังคมดั้งเดิม ทรัพย์สิน ก�าเนิด หรือสถานะอื่น” 14
                            • กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ก�าหนดเหตุแห่งการ
                             เลือกปฏิบัติครอบคลุม “เชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือ
                                                                                           15
                                ความคิดเห็นอื่นใด ชาติหรือสังคมดั้งเดิม ทรัพย์สิน ก�าเนิด หรือสถานะอื่น”


                 14
                    Article 2, Convention on the Rights of Persons with Disabilities (CRPD)
                 15
                    From “CCPR General Comment No. 18: Non-discrimination” UN Human Rights Committee (HRC),
          November 10, 1989

                                                          30
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36