Page 78 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 78

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


                              การประสานงานกับกลไกที่เกี่ยวข้องในระดับภูมิภาคและระดับระหว่างประเทศด้านสิทธิ

                              มนุษยชน


                          -  การรับเรื่องร้องเรียน เช่น การตรวจสอบการละเมิดจากเรื่องร้องเรียน การสร้างฐานข้อมูล
                              จากเรื่องที่ได้รับ ตลอดจนการติดตามการปฏิบัติงานที่ต่อเนื่อง รวมถึงการประสานงานกับ

                              กลไกอื่นในกระบวนการยุติธรรม เช่น ศาล


                          -  การไกล่เกลี่ย เช่น การไกล่เกลี่ยระหว่างเจ้าของกิจการกับสหภาพแรงงานรัฐบาล กับผู้ได้รับ

                              ผลกระทบ การช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ การส่งต่อเรื่องไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


                         ท างานร่วมกับองค์กรและภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับ
               ระหว่างประเทศ เช่น ภาคธุรกิจ สหภาพแรงงาน ภาคประชาสังคม ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน ภาคประชาสังคม

               โดยเฉพาะกลุ่มที่เสี่ยงต่อการถูกละเมิด และ UN Global Compact


                         ที่ประชุมขอให้สถาบันสิทธิมนุษยชนแต่ละภูมิภาคจัดการสัมมนาเพื่อหารือแผนยุทธศาสตร์ในการ

               ด าเนินงานทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค และรายงานต่อที่ประชุม ICC  ในเดือน พฤษภาคม 2554
               และได้มีการรับรองปฏิญญา เอดินเบอระ ขึ้น


                       ปัจจัยเอื้อของเอกสารชุดนี้ คือ การให้ความช่วยเหลือแก่สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการรับรอง

               ว่าหลักการ UNGP จะได้รับการปฏิบัติโดยรัฐและภาคเอกชนอย่างไร ทั้งนี้ ยังได้ให้ตัวอย่างประสบการณ์ของ

               สถาบันสิทธิมนุษยชนประเทศต่างๆ เพื่อน าไปศึกษาว่าแต่ละประเทศประสบความส าเร็จอย่างไร อาศัยปัจจัย
               และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นตามบริบทของประเทศตนเองได้อย่างไร อีกทั้ง ยังให้แหล่งข้อมูลเพิ่มเติมที่เป็น

               ประโชยน์ที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาต่อไป


                       นอกจากนี้ เอกสารดังกล่าวยังได้จ าแนกสิทธิมนุษยชนรายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ

               เพื่อช่วยให้สถาบันสิทธิมนุษยชนสามารถมองเห็นภาพที่ชัดเจนเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจ
               ในเอกสารฉบับนี้ ยังได้กล่าวถึงการสร้างความเป็นหุ้นส่วนระหว่างสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับองค์กร

               ระหว่างประเทศ ซึ่งรวมทั้งมาตรการริเริ่มว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจไว้ด้วย


                       ปัจจัยท้าทายของเอกสารชุดนี้ พบว่า ข้อเสนอแนะต่างๆ ที่แนะน าให้กับสถาบันสิทธิมนุษยชน

               แห่งชาตินั้นไม่ได้ลงรายละเอียดที่เพียงพอ เพียงแต่อธิบายถึงแนวทางคร่าวๆ ซึ่งอาจจะท าให้สถาบันสิทธิ
               มนุษยชนแห่งชาติที่ไม่มีทรัพยากร หรือองค์ความรู้ที่เพียงพอจะสามารถด าเนินการให้บรรลุผลส าเร็จได้












                                                           3-8
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83