Page 73 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 73

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


                       6.   ขจัดการเลือกปฏิบัติในอาชีพและการจ้างงาน

                       ด้านสิ่งแวดล้อม

                       7.   สนับสนุนมาตรการ/วิธีการที่ป้องกันความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม

                       8.   ส่งเสริมแนวทาง/มาตรการที่ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
                       9.   ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


                       ด้านการต่อต้านคอร์รัปชั่น
                       10.  ขจัดการคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ รวมถึงการติดสินบนและการใช้อ านาจบังคับ


                       เนื่องจากขาดกลไกการบังคับใช้และติดตามผล ข้อตกลงนี้จึงได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่มี

               ประสิทธิภาพเท่าที่ควร แม้ว่าจะเป็นการรวบรวมผู้มีส่วนได้เสียขนาดใหญ่ที่สุดในโลก กระบวนการคัดเลือก

               ผู้เข้าร่วมโครงการไม่มีคุณภาพมากพอ นอกจากนี้ ยังไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนทั้งจ านวน ประเภท และภูมิภาค
                       2
               ของธุรกิจ

                       บริษัทที่เข้าร่วมโครงการนี้ได้รับประโยชน์ในแง่ของชื่อเสียง และแสดงเจตนารมณ์ที่ดี ขณะเดียวกัน

               จะได้รับแรงกดดันจากห่วงโซ่อุปทานของตนเอง ลูกค้า หรือผู้ก ากับดูแล อย่างไรก็ตาม แม้บริษัทจะเข้าร่วมโดย

               สมัครใจเพื่อประโยชน์ต่างๆ แต่ไม่ชัดเจนว่าบริษัทต่างๆ เหล่านี้จะลงทุนเพื่อเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตาม
                                   3
               ข้อบังคับหรือไม่อย่างไร

                       ในงานศึกษาของ Coulmont และ Berthelot พบว่า แรงจูงใจที่ท าให้บริษัทเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ

               ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ คือ การปรับปรุงภาพลักษณ์ของบริษัท ท าให้บริษัทของตนเองแตกต่างจาก

               บริษัทอื่นๆ เช่นเดียวกับผลการส ารวจของประเทศสเปนซึ่งมีบริษัทเข้าร่วมเป็นสมาชิกจ านวนมาก บริษัทส่วน
                                                                                   4
               ใหญ่เห็นว่าการเป็นสมาชิกเป็นโอกาสในการส่งเสริมภาพลักษณ์และส่งผลทางธุรกิจ














               2   Papa Louis Fall, และ Mohamed Mounir Zahran. (2010). “United Nations corporate partnerships: The

                   Role and Functioning of the Global Compact. Geneva: United Nations.”
               3
                  Daniel Berliner, และ Aseem Prakash. (2014). “The United Nations Global Compact: An
                   Institutionalist  Perspective.” Journal of Business Ethics, 217-223.
               4
                   Michel, C. B. (2015, April). “The Financial Benefits of a Firm’s Affiliation with the UN Global
                   Compact.” Business Ethics: A European Review, 144-157.



                                                           3-3
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78