Page 76 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 76

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


                       3.1.3   Business  and  Human  Rights:  A  Guidebook  for  National  Human  Rights
                           9
               Institutions


                       ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน : คู่มือส าหรับสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจัดท าโดย คณะกรรมการ
               ประสานงานระหว่างประเทศว่าด้วยสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือ International  Coordinating

               Committee  of  National  Human  Rights  Institution  (ICC)  ริเริ่มใช้ปี ค.ศ. 2013  (พ.ศ. 2556)  คู่มือ

               ดังกล่าวได้รวมเนื้อหาที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจ บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชน
               แห่งชาติในการจ าแนกและแก้ไขปัญหาผลกระทบของภาคธุรกิจที่มีต่อสิทธิมนุษยชน


                       บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทั้งในส่วนของการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนท าให้

               สถาบันสิทธิฯ มีความส าคัญในการเข้าไปมีส่วนร่วมกับภาคธุรกิจ เพื่อส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชนตาม

               หลักการ UNGP โดยในคู่มือดังกล่าวจะอธิบายถึงหลักการสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจ ตลอดจนสร้าง
               ความตระหนักรู้ว่าการประกอบธุรกิจสามารถส่งผลกระทบทางสิทธิมนุษยชนในเชิงบวกและเชิงลบได้อย่างไร

               คู่มือนี้จะได้มีการให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องเพื่อน าไปเชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลอื่น อาทิ อนุสัญญาสิทธิ

               มนุษยชนระหว่างประเทศ ตลอดจนตัวอย่างแนวปฏิบัติของสถาบันสิทธิฯ ในประเด็นสิทธิมนุษยชนและการ
               ประกอบธุรกิจ


                       คู่มือนี้เป็นผลพวงจากการจัดประชุม International Conference ของ ICC ครั้งที่ 10 เรื่อง Human

               Rights  and  Business  :  The  Role  of  NHRIs  ระหว่างวันที่ 8-10 ตุลาคม 2553 ที่เมือง Edinburgh
               สกอตแลนด์ โดยที่ประชุมได้แบ่งการประชุมออกตามกลุ่มภูมิภาคเป็นกลุ่มย่อย 4 หัวข้อ ได้แก่ 1) การค้า

               มนุษย์ (ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก) 2) แรงงานเด็กและคนงานเยาวชน (ภูมิภาคแอฟริกา) 3) การแปรรูปให้เป็น

               การด าเนินงานภาคธุรกิจ (privatization)  และการจัดซื้อในภาครัฐ (ภูมิภาคยุโรป) 4) สิ่งแวดล้อม (ภูมิภาค
               อเมริกา)


                       ภายใต้หัวข้อการค้ามนุษย์ของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ที่ประชุมได้มีการอภิปรายถึงการใช้แรงงาน

               บังคับสิทธิของบุคคลที่จะไม่ตกเป็นทาส เสรีภาพส่วนบุคคล การห้ามการเลือกปฏิบัติ เสรีภาพในการย้ายถิ่น

               ฐาน กลุ่มเสี่ยง เช่น สตรีและเด็ก บทบาทของภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องทั้งในทางตรง เช่น การเข้าไปเกี่ยวข้องกับ
               กระบวนการค้ามนุษย์ และในทางอ้อมที่เข้าไปใช้ประโยชน์หรือด าเนินธุรกิจกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์

               เช่น นายหน้าแรงงาน ตลอดจนบทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่จะป้องกันแก้ไขปัญหาการค้า

               มนุษย์ และการประกันว่าจะมีการปฏิบัติตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง





               9
                   International Coordinating Committee of National Human Rights Institutions. (2013). “Business and
                   Human Rights: A Guidebook for National Human Rights Institutions.” Handy-print.



                                                           3-6
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81