Page 66 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 66
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
2. ภาพลักษณ์ของธุรกิจมีความส าคัญเป็นอย่างยิ่งในการด าเนินธุรกิจในปัจจุบัน ภาคธุรกิจ
จึงมีแรงจูงใจในการปฏิบัติตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากล
3. ประเทศไทยนับเป็นศูนย์กลางของห่วงโซ่อุปทานระดับโลกของบริษัทข้ามชาติ ภาครัฐจึง
จ าเป็นต้องใส่ใจในเรื่องของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
4. ภาคธุรกิจส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลกับ กสม. ในระดับที่ดี
5. กลไกการตรวจสอบการละเมิดสิทธิที่นอกเหนือจากภาครัฐจ านวนมาก และภาคธุรกิจ
ภายใต้ห่วงโซ่อุปทานให้ความส าคัญกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน
6. ภาครัฐให้ความส าคัญกับการปรับตัวในประเด็นธุรกิจและสิทธิมนุษยชนผ่านแผนการ
ด าเนินการจัดท าแผนปฏิบัติการแห่งชาติ (NAP)
7. หน่วยงานระหว่างประเทศเริ่มเข้ามาให้ความส าคัญกับประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ในภาคธุรกิจผ่านการสร้างบรรทัดฐานสากลและหลักปฏิบัติต่างๆ ให้ไปปรับใช้
8. บทบาทของภาคประชาสังคม/สื่อ มีบทบาทมากขึ้นในการกดดันให้ภาคธุรกิจด าเนินการ
โดยเคารพมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
อุปสรรค
1. ความรู้ความเข้าใจที่จ ากัดของประชาชนและภาคธุรกิจในเรื่องขอบเขตอ านาจหน้าที่และ
การปฏิบัติงานของ กสม.
2. ประชาชนและภาคธุรกิจยังขาดความรู้และความเข้าใจในมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากล
ต่างๆ ในภาคปฏิบัติ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดขึ้นเพราะมาตรฐานเหล่านั้นยังเน้นไปที่การให้
หลักการกว้างๆ มากกว่าการให้หลักการเชิงปฏิบัติ
3. ภาคธุรกิจยังขาดการบูรณาการกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนเข้ากับระบบ
ประเมินความเสี่ยงของบริษัท
4. ขนบธรรมเนียมมีความแตกต่างกันในแต่ละสังคมส่งผลให้เกิดสิทธิต่างๆ ที่แตกต่างกันใน
แต่ละสังคมด้วย แต่ละสังคมจึงควรหาแนวทางที่จะเป็นการสร้างประโยชน์และคุ้มครอง
ร่วมกันต่อการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว
5. ข้อมูลชี้แจงจากภาคธุรกิจยังไม่เพียงพอมากนัก
6. การด าเนินธุรกิจในปัจจุบันมีการแข่งขันที่สูงท าให้ต้องลดต้นทุนในการด าเนินธุรกิจ จึง
อาจจะละเลยความเข้มงวดในการก ากับดูแลและการด าเนินธุรกิจที่ค านึงถึงสิทธิ
มนุษยชน
2-42