Page 53 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 53

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


               ผู้เชี่ยวชาญในภูมิภาคอาเซียนในเดือนมกราคม 2560 โดยร่วมกับเครือข่ายโกลบอล คอมแพ็ก ประเทศไทย

               (The Global Compact Network Thailand - GCNT) และคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วย
               สิทธิมนุษยชน (ASEAN  Intergovernmental  Commission  on  Human  Rights  -  AICHR) เพื่อหารือ

               เกี่ยวกับการประเมินผลกระทบสิทธิมนุษยชนและแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน

               หลังจากนั้นจะได้มีการลงไปในพื้นที่ทั่วประเทศเพื่อการเก็บข้อมูลมาประมวลและจัดท ารายงานสถานการณ์
               สิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจ โดยภาคธุรกิจจะร่วมกับที่ประชุมลงไปในพื้นที่ในช่วงเดือนมกราคม –

               มีนาคม 2560


                       เมื่อที่ประชุมได้ด าเนินการจัดท ารายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจเสร็จแล้ว ก็

               จะได้น ารายงานฉบับนั้นมาสังเคราะห์เป็นแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนต่อไป ซึ่งคาด
               ว่าน่าจะแล้วเสร็จและเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบภายในปี 2561 แล้วจึงเผยแพร่ต่อสาธารณะ

               ทั้งนี้ จะได้มีการจัดท าคู่มือ และมีการติดตาม ทบทวนแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน

               เป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง





               2.2   ข้อสรุปจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิภายในส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

               แห่งชาติ



                       คณะผู้วิจัยได้ท าการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิภายใน กสม. ทั้งสิ้น 8 ท่าน เพื่อรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม
               นอกเหนือจากการท าวรรณกรรมปริทัศน์ เพื่อน าไปสู่การท าแผนปฏิบัติการ ซึ่งแต่ละท่านได้ให้ข้อมูลอันเป็น

               ประโยชน์และมีสาระส าคัญ ดังนี้




                       ผู้ให้ข้อมูลคนที่ 1

                      1.   การพิจารณาถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในฐานะผู้ที่สามารถถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยภาคธุรกิจ ควร

               ที่จะมุ่งเน้นที่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่ไม่ได้มีกฎหมายก ากับดูแลเป็นอันดับแรก โดยกลุ่มผู้ที่เข้าข่ายสามารถที่จะถูก
               ละเมิดแต่มีกฎหมายคุ้มครองอยู่แล้วได้แก่ ผู้ถือหุ้น และกลุ่มคู่แข่งขัน ทั้งนี้ หากพิจารณาจากมาตรฐานสากล

               จะพบว่ากลุ่มผู้ที่เข้าข่ายที่ถูกละเมิด ได้แก่ กลุ่มเด็ก สตรี ชาติพันธุ์ แรงงานย้ายถิ่นและคนพิการ โดยในกรณี

               ของประเทศไทยยังไม่ได้เป็นภาคีอนุสัญญาที่เกี่ยวข้องในการคุ้มครองสิทธิของบางกลุ่ม

                      โดยในความเห็นส่วนตัวของผู้ทรงคุณวุฒิ มองว่าในบางประเด็นประเทศไทยยังขาดองค์ความรู้ที่

               เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การระบุถึงและการยอมรับกลุ่ม minorities  หรือกลุ่ม indigenous  (กลุ่มชน
               ท้องถิ่นดั้งเดิม) ในช่วงต้นจะต้องท าการศึกษาวิจัยก่อนที่จะไปถึงเรื่องของการผลักดันสิทธิ





                                                           2-29
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58