Page 54 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 54
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
2. องค์การสหประชาชาติล่าสุดมีการแบ่งประเด็นสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจโดยมุ่งเน้น
ประเด็นออกเป็น 1) ประเด็นสิทธิเด็ก 2) สิ่งแวดล้อมและน้ า 3) เพศ 4) ประเด็นที่มีความเสี่ยงสูงและมีความ
ขัดแย้งในพื้นที่ 5) กลุ่มชนท้องถิ่นดั้งเดิม 6) ที่ดินและอาหาร 7) ห่วงโซ่อุปทาน และ 8) สภาพแวดล้อมการ
ท างาน
3. กิจกรรมที่ทาง กสม. ได้ด าเนินการอยู่ ประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่ส าคัญ 4 ส่วน ดังนี้
3.1 กลุ่มงานวิจัยและกลุ่มงานส่งเสริม กลุ่มงานวิจัยมีการท าวิจัยเพื่อสนับสนุนการท างาน เช่น
การจัดท าแผนกลยุทธ์องค์กร การศึกษาพันธกรณีในอาเซียน ในขณะที่กลุ่มงานส่งเสริมจะ
แบ่งออกเป็น งานส่งเสริมความรู้ผ่านการจัดท าคู่มือ เช่น คู่มือ Human Rights Due
Diligence (HRDD) งานสารนิเทศ ได้แก่ การรณรงค์ให้ความรู้ผ่านสื่อ และงานเครือข่าย ที่
เข้าร่วมภาคีกับภาคธุรกิจผ่านเครือข่าย Global Compact
3.2 กลุ่มงานคุ้มครอง ประกอบไปด้วย การจัดท าฐานข้อมูลการละเมิดสิทธิฯ โดยภาคเอกชน
และการจัดท าคู่มือการตรวจสอบการละเมิดโดยภาคธุรกิจ
3.3 กลุ่มงานระหว่างประเทศ สนับสนุนภาพรวมกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ
3.4 กลุ่มงานด้านนโยบาย สนับสนุนการจัดท าแผนชาติ (National Action Plan) การจัดท า
กรณีศึกษา และการเป็นศูนย์กลางในการประสานงานต่างๆ
นอกจากนี้ ทาง กสม. ยังมีการสร้างเครือข่ายกับมหาวิทยาลัย โดยในบางแห่งที่มีความเข้มแข็งได้
ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นศูนย์รับเรื่องร้องเรียนให้กับทาง กสม. เพื่อรองรับบริการในภูมิภาค
4. กิจกรรมหนึ่งที่ทาง กสม. สามารถเข้ามามีบทบาทในด้านกระบวนการตรวจตราและเยียวยา ก็คือ
การไกล่เกลี่ย ซึ่งเหมาะสมที่จะใช้ในกรณีที่การละเมิดกฎหมายมีระดับที่ไม่รุนแรง และเหยื่อควรที่จะได้รับการ
เยียวยาเบื้องต้น โดยทาง กสม. สามารถท าหน้าที่กลั่นกรองพิจารณาว่าเรื่องใดควรที่จะเข้าข่ายในกรณีนี้
หรือไม่
5. กิจกรรมในเรื่อง whistle blower และ Anti SLAPP ยังไม่อยู่ในการด าเนินงานของ กสม. แต่มี
หน่วยงานที่ดูแลเรื่องนี้อยู่ ได้แก่ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
6. การให้รางวัลองค์กรธุรกิจที่จัดการด้านสิทธิมนุษยชนดี อาจจะไม่เหมาะที่ กสม. จะเข้าไปให้
รางวัลโดยตรง อย่างไรก็ดี การให้รางวัลอาจจะผูกกับองค์กรที่ได้รับการยอมรับในสังคมแทนก็อาจจะเป็นได้
เช่น องค์กร IOD เป็นต้น
ผู้ให้ข้อมูลคนที่ 2
1. การด าเนินธุรกิจที่เคารพสิทธิมนุษยชนยังเป็นเรื่องใหม่ส าหรับทุกฝ่ายในประเทศไทย โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งภาคธุรกิจ ดังนั้น ทุกภาคส่วนยังขาดแนวทางหรือวิธีการด าเนินการที่เหมาะสม หลักการชี้แนะว่าด้วย
2-30