Page 51 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 51

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


               แห่งชาติของประเทศออสเตรเลีย เพื่อแสดงข้อมูลพื้นฐานด้านสิทธิมนุษยชน และน าเสนอรูปแบบการ

               ด าเนินงานที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของออสเตรเลียด าเนินการอยู่

                       ข้อมูลพื้นฐานด้านสิทธิมนุษยชน จะเริ่มจากการให้ตัวอย่างกรณีศึกษาของการละเมิดสิทธิมนุษยชน

               ของภาคธุรกิจ ที่เกิดขึ้นในประเทศบังกลาเทศ ประเทศมาเลเซียและประเทศญี่ปุ่น จากนั้นจะเป็นการสรุป
               มาตรฐานที่ส าคัญในระดับสากล 3 มาตรฐาน ได้แก่ มาตรฐาน UN Global Compact รวม 10 ประการในปี

               ค.ศ. 2000 หลักการพื้นฐานด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ ปีค.ศ. 2001 (ซึ่งประกอบ

               ไปด้วยแผนหลัก 3 แผน ได้แก่ การปกป้อง การเคารพ และการเยียวยา และ หลักการพัฒนาที่ยั่งยืน (Social
               Development Goals) ปีค.ศ. 2015 ซึ่งประกอบไปด้วย 17 องค์ประกอบ ในส่วนสุดท้ายจะเป็นการน าเสนอ

               สถานการณ์การแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชนของไทยในปัจจุบัน ซึ่งประกอบไปด้วย การยกระดับสถานะการจัด

               อันดับการค้ามนุษย์จากล าดับขั้น 3 มาเป็นล าดับขั้น 2 แบบเฝ้าระวังของสหรัฐอเมริกา การเข้าร่วมเป็นส่วน
               หนึ่งของกลุ่มพันธมิตรของสหประชาชาติในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ การเพิ่มกระบวนการจด

               ทะเบียนแรงงานต่างด้าว การเพิ่มบทบาทในกระบวนการบาหลี การเข้าร่วมในกระบวนการของสหประชาชาติ

               โดยร่วมมือกับประเทศออสเตรเลียในการจัดประชุมที่สวิตเซอร์แลนด์ที่ก าลังจะมาถึง และการท างานร่วมกับ
               ประเทศออสเตรเลียในโปรแกรมความช่วยเหลือระดับภาคพื้นทวีป


                       ในส่วนของรูปแบบการด าเนินงานที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนออสเตรเลียด าเนินการอยู่ ประกอบ
               ไปด้วย


                       1.   บทบาทโดยทั่วไป นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 ประกอบไปด้วย การท าหน้าที่ให้ค าปรึกษา (advisor)

               การท าหน้าที่ประสานงาน (facilitator)  การท าหน้าที่วิจัย (researcher)  และการท าหน้าที่เป็นผู้ให้ความ
               ร่วมมือ (collaborator)


                       2.   บทบาทเชิงลึกที่ส าคัญ คือ การร่วมมือประสานงานกับภาคธุรกิจ ในรูปแบบต่างๆ ดังนี้

                          -   ประสานงานกับธุรกิจ ผ่านกระบวนการร้องทุกข์ของผู้ถูกละเมิด (ติดต่อประสานเพื่อถามไถ่

                              และหาทางแก้ไข)
                          -   เป็นแหล่งข้อมูลให้กับภาคธุรกิจ เพื่อแนะแนวทางในการด าเนินการที่ถูกต้อง

                          -   สนับสนุนความหลากหลายทางเชื้อชาติ วัฒนธรรม เพศสภาพ และด้านอื่นๆ ในองค์กรธุรกิจ

                          -   ร่วมมือเพื่อท าวิจัย
                          -   สนับสนุนการผลักดันด้านสิทธิมนุษยชนผ่านการบริหารจัดการธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานของ

                              บริษัท

                          -   การจัดท ารายงานความเต็มใจในการท างาน (Willing to Work report)
                          -   การจัดท าหนังสือ Leading  for  Change:  A  blueprint  for  cultural  diversity  and

                              inclusive leadership





                                                           2-27
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56