Page 50 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 50
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
ในส่วนที่สามแสดงถึงบทบาทที่ควรจะเป็นของ กสม. การด าเนินงานเพื่อที่จะให้ภาคธุรกิจเคารพหลัก
สิทธิมนุษยชนมากขึ้นในอนาคต กสม. ควรที่จะมีบทบาทในการเฝ้าระวัง (monitor) สถานการณ์
สิทธิมนุษยชนและประเมินสถานการณ์ โดยการรวบรวมข้อมูลเปรียบเทียบกับเกณฑ์ชี้วัด และจัดท ารายงาน
เสนอต่อภาคส่วนต่างๆ เช่น หน่วยงานสาธารณะ ผู้มีอ านาจและภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง และ กสม. ไทยควรที่จะ
พิจารณาความเป็นไปได้ในการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก เพื่อเป็นประโยชน์ในกระบวนการ
จัดท าแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของประเทศ
การประชุมธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนภูมิภาคเอเชีย 2016 (2016 Asia Regional Forum on Business
and Human Rights) ได้ให้บทเรียนที่ส าคัญผ่านการน าเสนอประเด็นปัญหาในแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วย
ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (NAP) ซึ่งถือเป็นเครื่องมือส าคัญในการจัดการปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนว่า ปัจจุบันยัง
ไม่มีประเทศใดในภูมิภาคนี้ที่ประกาศใช้แผนปฏิบัติการดังกล่าว และทวีปเอเชียยังคงเผชิญกับช่องว่างที่ส าคัญ
ในการพัฒนาแผน NAP นอกจากนี้จากรายงานสรุปการประชุมดังกล่าว ยังสะท้อนประเด็นความท้าทาย
โอกาสและอุปสรรค ที่สามารถสรุปได้ว่า
1. ความท้าทายในเรื่องเทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบันยังมีข้อท้าทายในเรื่องการถอดรหัสข้อมูลซึ่ง
อาจจะก่อให้เกิดปัญหาการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวได้
2. ความท้าทายจากที่ กสม. มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับมาตรฐานสากลต่างๆ เพื่อให้ภาคเอกชนเคารพ
สิทธิมนุษยชนและเป็นแนวปฏิบัติที่ดีของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอยู่แล้ว แต่ยังไม่ได้มีการเผยแพร่ข้อมูล
UNGP และริเริ่มประสานงานกับหน่วยงานภายนอกมากนัก
3. ปัจจัยเอื้อจากปัจจุบันที่เวทีระหว่างประเทศและสหประชาชาติให้ความส าคัญกับบทบาทของภาค
ธุรกิจในการเคารพสิทธิมนุษยชน หากภาคธุรกิจไทยไม่มีการปรับตัวหรือขาดความตระหนักในแนวโน้มของโลก
ก็จะประสบกับแรงกดดันที่จะกระทบถึงการค้าการลงทุนระหว่างประเทศได้
4. ปัจจัยเอื้อจากที่ภาครัฐให้ความส าคัญกับการปรับตัวในประเด็นธุรกิจและสิทธิมนุษยชนผ่าน
แผนการด าเนินงานจัดท าแผนปฏิบัติแห่งชาติ (NAP)
2.1.8 เอกสารการสัมมนา เรื่อง ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนในมุมมองของไทยและออสเตรเลีย
8
(2016 Public Seminar on Business and Human Rights Thai and Australian Perspectives)
เอกสารประกอบการบรรยาย การสัมมนาในเรื่องธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนในมุมมองของไทยและ
ออสเตรเลีย เป็นเอกสารประกอบที่จัดท าขึ้นโดย Prof. Gillian Triggs ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
8
Triggs, G., (2016). “Public Seminar on Business and Human Rights Thai and Australian
Perspectives,” The Australian Human Rights Commission.
2-26