Page 48 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 48

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


                       2.   ปัจจัยอุปสรรคจากขนบธรรมเนียมที่มีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ส่งผลให้เกิดสิทธิที่แตกต่าง

               กันในแต่ละสังคมด้วย แต่ละสังคมจึงควรหาแนวทางปฏิบัติที่จะเป็นการสร้างและคุ้มครองผลประโยชน์ร่วมกัน
               เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ในกระแสการเปลี่ยนแปลงระยะยาว


                       3.   ความท้าทายจากกลยุทธ์การด าเนินธุรกิจที่ไม่ได้ส าคัญแต่ในเฉพาะระดับประเทศ แต่ถือเป็นเรื่อง
               ส าคัญในระดับโลกที่มีข้อน่ากังวลเกี่ยวกับการด าเนินธุรกิจของบริษัทข้ามชาติ ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อภาค

               เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ถ้าไม่มีแผนรองรับที่ดีก็อาจจะกระทบต่อสิทธิทางเศรษฐกิจได้


                       2.1.7   เอกสารการประชุมธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนภูมิภาคเอเชีย 2016  (2016  Asia  Regional
                                                       7
               Forum on Business and Human Rights)

                       การจัดการประชุมธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนภูมิภาคเอเชีย 2016 (2016 Asia  Regional  Forum  on

               Business  and  Human  Rights) เป็นการประชุมที่ได้รับการสนับสนุนจากส านักงานข้าหลวงใหญ่
               สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการขยายการบังคับใช้

               “หลักการชี้แนะเรื่องสิทธิมนุษยชนส าหรับธุรกิจ (UNGP)”  และมุ่งเน้นเสนอวิธีการให้ภาครัฐและภาคธุรกิจ

               สามารถปฏิบัติตามพันธกรณีในการปกป้องและเคารพสิทธิมนุษยชนของตน โดยในการประชุมมีการแบ่ง
               ประเด็นน าเสนอเป็น 3 ส่วนหลัก คือ 1.    สถานการณ์โดยทั่วไป 2. บทบาทที่ผ่านมาของ กสม. และ

               3. บทบาทที่ควรจะเป็นของ กสม.

                       ในส่วนแรก สถานการณ์โดยทั่วไป ที่ประชุมได้ให้ความส าคัญกับเรื่องสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในทวีป

               เอเชียทั้งเรื่องแรงงานข้ามชาติ การถือครองที่ดิน ห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมสิ่งทอ การป้องกันการใช้

               แรงงานบังคับ แรงงานเด็กและการค้ามนุษย์ โดยอธิบายได้เป็นประเด็นดังนี้

                       1.   ประเด็นหลักการชี้แนะการด าเนินงานตามหลักสิทธิมนุษยชนส าหรับภาคธุรกิจ (UNGP  on

               Business  and  Human  Rights)  จะต้องอยู่บนพื้นฐาน 3 ประการ คือ ภาครัฐมีหน้าที่ในการคุ้มครอง

               สิทธิมนุษยชน (ผ่านการบังคับใช้กฎหมาย สร้างหลักประกันว่ากฎหมายจะเป็นตัวส่งเสริมการเคารพ
               สิทธิมนุษยชน จัดให้มีแนวทางปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ และก าหนดให้องค์กรธุรกิจมีแนวทางการรับมือ

               ผลกระทบ) ภาคธุรกิจมีหน้าที่เคารพสิทธิมนุษยชน (ผ่านข้อผูกพันในนโยบายขององค์กร และมีการประเมินผล

               กระทบในทุกขั้นตอนการด าเนินงาน) และเมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้น ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องจัด
               ให้มีช่องทางการร้องเรียนและเยียวยาที่เหมาะสม


                       2.   ประเด็นสิทธิมนุษยชนข้ามพรมแดน ส านักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งองค์การ
               สหประชาชาติ (UN Office of High Commissioner for Human Rights – UNOHCHR) ได้ด าเนินโครงการ



               7
                   คณะอนุกรรมการด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม. (2559). “การจัดการประชุมธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน
                   ภูมิภาคเอเชีย 2016.” ส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.



                                                           2-24
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53