Page 46 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 46
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
1. ปัจจัยที่เอื้อต่อการด าเนินงาน จากการที่ประเทศไทยนับเป็นศูนย์กลางของห่วงโซ่อุปทานระดับ
โลกของบริษัทข้ามชาติจ านวนมาก รัฐบาลจึงจ าเป็นต้องใส่ใจในเรื่องการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนมากขึ้น
2. ปัจจัยที่เอื้อต่อการด าเนินงาน บริษัทส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลกับ กสม. เป็นอย่างดี
3. อุปสรรคที่ถึงแม้จะได้รับความร่วมมือจากภาคธุรกิจเป็นอย่างดี แต่ยังมีหลายครั้งที่ภาคธุรกิจไม่ได้
ให้ข้อมูลที่จ าเป็นทั้งหมด โดยเฉพาะการชี้แจงด้วยวาจาที่อาจไม่ได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนมากนัก
4. ความท้าทายจากการพัฒนาความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวกับกฎเกณฑ์และมาตรฐานที่
เกี่ยวข้องกับการเคารพสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชนยังถือเป็นเรื่องใหม่ ที่จ าเป็นต้องมีการพัฒนาเพื่อ
ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ โดยเฉพาะการจัดท าข้อเสนอแนะไปยังภาครัฐ และริเริ่มให้ข้อเสนอแนะไปยัง
ภาคเอกชนให้ชัดเจนขึ้น
2.1.6 เอกสารการสัมมนา เรื่อง ธุรกิจกับการเคารพสิทธิมนุษยชนตามหลักการชี้แนะของ
6
สหประชาชาติ กรณีธุรกิจท่องเที่ยวและการโรงแรมในกลุ่มทะเลอันดามัน
การสัมมนาเรื่อง ธุรกิจกับการเคารพสิทธิมนุษยชนตามหลักการชี้แนะของสหประชาชาติ กรณี
ธุรกิจท่องเที่ยวและการโรงแรมในกลุ่มทะเลอันดามัน โดยคณะอนุกรรมการด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและ
วัฒนธรรม ใน กสม. ที่จัดขึ้น ณ จังหวัดภูเก็ตครั้งนี้ ถือเป็นโครงการน าร่องในการเผยแพร่หลักการชี้แนะของ
องค์การสหประชาชาติเรื่องสิทธิมนุษยชนส าหรับธุรกิจ (UNGP) ที่เปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
สังเคราะห์ข้อเสนอแนะในประเด็นความท้าทายโอกาสและอุปสรรคในการประยุกต์ใช้แนวทางปฏิบัติดังกล่าว
ระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในภาคธุรกิจ โดยมีการแบ่งประเด็นการน าเสนอออกเป็น 3 ส่วนส าคัญ ได้แก่ การ
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน บทบาทที่ผ่านมาของ กสม. และข้อเสนอแนะ
แนวทางการปฏิบัติต่างๆ ให้กับภาคธุรกิจ
ในส่วนแรก การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประเด็นสภาพแวดล้อมในปัจจุบันจากการทบทวน
วรรณกรรม พบว่า มีอยู่หลายประเด็นที่ส าคัญ อาทิ 1. ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2559) สังคมโลกให้ความส าคัญกับ
การด าเนินธุรกิจโดยเคารพหลักสิทธิมนุษยชนตามหลักการชี้แนะขององค์การสหประชาชาติในเรื่องสิทธิ
มนุษยชน (UNGP) (ผ่านหลักการคุ้มครอง การเคารพ การเยียวยา) มาปรับใช้ในสถานการณ์ต่างๆ มากขึ้น แต่
ประเด็นดังกล่าวยังไม่ได้รับความสนใจมากนักในประเทศไทย 2. การเปิดประชาคมอาเซียน ท าให้เกิดการ
เคลื่อนย้ายทุน แรงงานสินค้าและบริการอย่างเสรี อาจท าให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิต่างๆ ค่อนข้างมาก ภาครัฐ
จึงต้องมีการประเมินผลกระทบด้านลบและหาแผนการบรรเทาป้องกันปัญหาให้เหมาะสม 3. ภาคการ
6 คณะอนุกรรมการด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม. (2559). “ธุรกิจกับการเคารพสิทธิมนุษยชนตาม
หลักการชี้แนะของสหประชาชาติ กรณีธุรกิจท่องเที่ยวและการโรงแรมในกลุ่มทะเลอันดามัน.” ส านักงาน
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.
2-22