Page 45 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 45

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


                       1.   กสม. ควรส่งเสริมและประยุกต์ใช้องค์ความรู้เกี่ยวกับการด าเนินธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ผ่านการ

               สร้างมาตรฐานที่เกี่ยวกับความยั่งยืนขององค์กร และมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแสดงความรับผิดชอบ
               ของธุรกิจต่อสังคม (CSR) เพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถน าไปปรับใช้และปฏิบัติตามได้


                       2.   กสม. ควรเข้ามาให้ความส าคัญกับการจัดท าฐานข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยภาคเอกชน
               เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเจรจาไกล่เกลี่ย เยียวยาและเสนอแนะต่อภาคเอกชนตามระดับความเหมาะสมของ

               สถานการณ์แต่ละกรณี โดยฐานข้อมูลดังกล่าวควรครอบคลุมประเด็นส าคัญ 4 ประเด็น ได้แก่ 1. ประเภท

               ธุรกิจ 2. ชื่อ ที่อยู่และประเภทธุรกิจของบริษัทแม่ 3. มาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อสังคมที่
               บริษัทประกาศรับหลักการ (เป็นภาคีสมาชิก) 4. เนื้อหาตัวชี้วัดในแต่ละมาตรฐานที่ชี้ชัดว่าเป็นการละเมิด

               สิทธิมนุษยชน

                       3.   กสม. ควรมีการเผยแพร่บทสรุปผลการด าเนินงานตรวจสอบ และจัดท าข้อเสนอแนะต่อบริษัทให้

               มีความชัดเจน เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อเท็จจริงและเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชน

               เห็นถึงความส าคัญของประเด็นสิทธิมนุษยชนมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงด้านชื่อเสียง (reputation  risk) และ
               เพิ่มแรงกดดันจากคู่แข่งในธุรกิจเดียวกัน (peer  pressure) โดยให้หันมาให้ความส าคัญกับการคุ้มครองสิทธิ

               มนุษยชนอย่างจริงจัง


                       4.   กสม. ควรสร้างกลไกความร่วมมือกับหน่วยงานก ากับดูแลภาคเอกชนในไทย (อาทิ ก.ล.ต.  ตลท.
               สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย   สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย) และร่วมมือกับองค์กรภาคเอกชน

               ระหว่างประเทศ เพื่อขับเน้นประเด็นธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนให้เป็นที่ตระหนักในวงกว้าง และเป็นการสร้าง

               ความตื่นตัวในประเด็นดังกล่าวในภาคธุรกิจให้มากขึ้น

                       5.   กสม. ควรเข้ามามีส่วนร่วมในการด าเนินงานจัดท าแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจและ

               สิทธิมนุษยชน (NAP) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ ที่
               เกี่ยวข้องทั้งภาคธุรกิจ ภาครัฐและประชาสังคม   โดยในขั้นแรกอาจจะเริ่มจากการศึกษาข้อมูลฐานและ

               วิเคราะห์ช่องว่าง (national  baseline  study  and  gap  analysis) ระหว่างกลไกคุ้มครองสิทธิมนุษยชนใน

               ประเทศที่มีอยู่ ว่าเพียงพอต่อข้อก าหนด หรือมีช่องว่างในประเด็นใดบ้าง

                       โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง “บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองการละเมิด

               สิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน”       ได้ให้บทเรียนที่ส าคัญผ่านการแสดงให้เห็นถึงรูปแบบและบทบาทการ
               ด าเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการประกอบธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของประเทศ

               ต่างๆ  รวมทั้งข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ควรจะด าเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย

               นอกจากนี้ โครงการศึกษาวิจัยฉบับนี้ยังได้แสดงถึงประเด็นความท้าทายต่างๆ ที่อาจจะมีผลกระทบต่อการ
               ด าเนินงานของ กสม. ดังนี้








                                                           2-21
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50