Page 41 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 41

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


               ตามกฎหมายและบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกันไป โดยสามารถแบ่งรูปแบบหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชน

               ระดับชาติได้เป็น 4 รูปแบบ คือ

                       1.   รูปแบบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ถือเป็นรูปแบบที่เก่าแก่และใกล้เคียงกับชุดหลักการ

               ปารีส (Paris  Principles) มากที่สุด มีการขยายอ านาจหน้าที่จากเดิมที่เน้นการบังคับใช้กฎหมายเพื่อสร้าง
               ความเท่าเทียมไปสู่การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในภาคธุรกิจและสาธารณะ ให้ค าปรึกษาต่อหน่วยงานของรัฐ

               สร้างความตระหนักและจัดอบรมเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และมักได้รับอ านาจกึ่งตุลาการ (quasi-judicial) ใน

               การสืบสวนสอบสวน นอกจากนี้ในบางประเทศที่มีการละเมิดสิทธิชนพื้นเมือง ยังได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการ
               ต่อต้านการเลือกปฏิบัติระดับชาติ (national  anti-discrimination  commission) ขึ้นเป็นการเฉพาะและ

               จ ากัดภารกิจเฉพาะประเด็นการห้ามเลือกปฏิบัติ หรือบัญญัติการปฏิบัติที่เท่าเทียม (equal treatment)

                       2.   รูปแบบคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านสิทธิมนุษยชน ให้ความส าคัญกับบทบาทการเป็น  “ข้อต่อ

               สะพานเชื่อม” ระหว่างภาคประชาสังคมและภาครัฐ เน้นการให้ค าปรึกษาหารือแก่หน่วยงานภาครัฐและจัดท า

               รายงานศึกษาประเด็นต่างๆ เป็นหลัก ไม่ได้มีอ านาจกึ่งตุลาการในการสืบสวนสวบสวน จุดเน้นของรูปแบบนี้จึง
               อยู่ที่การสร้างความตระหนักและสนับสนุนภารกิจของรัฐในการศึกษาวิจัย อย่างไรก็ตาม รูปแบบดังกล่าวก็ยังมี

               จุดร่วมกับ กสม. ที่เน้นการมีตัวแทนจากหลากหลายสาขาในด้านสิทธิมนุษยชน


                       3.   รูปแบบผู้ตรวจการด้านสิทธิมนุษยชน เป็นหน่วยงานที่ผสมผสานองค์ประกอบระหว่างงานของ
               ผู้ตรวจการแผ่นดินกับรูปแบบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ไม่เพียงแต่มอบอ านาจให้ผู้ตรวจการเฝ้า

               ระวังความชอบธรรมทางกฎหมาย แต่ยังมีหน้าที่ส่งเสริมคุ้มครอง ส่งข้อเสนอแนะค าแนะน าเชิงนโยบายในด้าน

               สิทธิมนุษยชนอีกด้วย

                       4.   รูปแบบสถาบันสิทธิมนุษยชน ส่วนใหญ่ใช้ในประเทศที่มีหน่วยงานเฝ้าระวังที่มีประสิทธิภาพอยู่

               แล้ว โครงสร้างหลักของสถาบันประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากสาขาต่างๆ ท างานภายใต้คณะกรรมการ เป็น
               สถาบันที่เน้นการให้การศึกษาวิจัยและให้ข้อมูลด้านสิทธิมนุษยชน แทนการสืบสวนสอบสวนหรือเฝ้าติดตาม

               การด าเนินงานตามกฎกติกาของภาครัฐ

                       โดยคณะผู้วิจัยสามารถสรุปบทบาทหน้าที่ของสถาบันสิทธิมนุษยชนในประเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ

               การด าเนินงานของภาคธุรกิจได้ดังตารางต่อไปนี้





















                                                           2-17
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46