Page 40 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 40

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


                       1.   ปัจจัยเอื้อส าคัญที่ส่งผลต่อการด าเนินงานโดยเคารพหลักสิทธิมนุษยชนของภาคธุรกิจ คือ

               ประเด็นเรื่องภาพลักษณ์ ที่ภาคธุรกิจถือว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีความส าคัญในการด าเนินธุรกิจในปัจจุบัน ภาค
               ธุรกิจจึงมีแรงจูงใจในการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนตามมาตรฐานสากลต่างๆ มากขึ้น


                       2.   อุปสรรคที่ส าคัญ คือ ประชาชนและภาคธุรกิจยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ในมาตรฐานสากลต่างๆ
               ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนในภาคปฏิบัติ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดขึ้นเพราะมาตรฐานสากลเหล่านั้นยังเน้นไปที่การ

               น าเสนอหลักการกว้างๆ มากกว่าการให้หลักการในเชิงปฏิบัติ

                       3.   อุปสรรคจากที่ภาคธุรกิจ ยังขาดการบูรณาการกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน

               เข้ากับระบบการประเมินความเสี่ยงของภาคธุรกิจ


                       2.1.5   โครงการวิจัยเรื่อง “บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครอง การ
                                                5
               ละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน”

                       การจัดท ารายงานการศึกษาวิจัยบทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในการคุ้มครองการละเมิด

               สิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาวิเคราะห์ถึงบทบาทของสถาบัน
               สิทธิมนุษยชนแห่งชาติของต่างประเทศ ในประเด็นการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนจากการละเมิดโดยภาคเอกชน

               และ 2. เพื่อจัดท าข้อเสนอแนะแนวทางที่เป็นไปได้ ในการส่งเสริมคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของ กสม. ในบริบท

               ประเทศไทย โดยสามารถแบ่งประเด็นการศึกษาได้เป็น 4 ส่วน คือ สถานการณ์สภาพปัญหาที่ผ่านมา
               สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปที่เกี่ยวกับการด าเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บทบาทการด าเนินงานของ กสม.

               และข้อเสนอแนะแนวทางการด าเนินงาน


                       ในส่วนแรก ที่แสดงถึงสถานการณ์ทั่วไปของสภาพปัญหา พบว่า ประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของ
               ภาคเอกชนในต่างประเทศจะกระทบ 3 สิทธิหลัก คือ สิทธิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน (โครงการพัฒนา

               ขนาดใหญ่ที่กระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนมักเชื่อมโยงกับการด าเนินงานของบรรษัทข้ามชาติ) สิทธิ

               ด้านการละเมิดสิทธิแรงงานในห่วงโซ่อุปทาน (การใช้แรงงานบังคับ แรงงานเด็ก ความปลอดภัยและแรงงาน
               ข้ามชาติในอุตสาหกรรม) และสิทธิด้านการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการสื่อสาร (การละเมิดความเป็นส่วนตัวของ

               บริษัทโทรคมนาคมต่างๆ)  ขณะที่ภาพรวมสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยนั้นจะกระทบ

               สิทธิใน 3 ประเด็นหลักๆ คือ สิทธิแรงงาน สิทธิแรงงานข้ามชาติ และสิทธิชุมชน

                       ในส่วนที่สอง สภาพแวดล้อมการด าเนินงานของหน่วยงานสถาบันสิทธิมนุษยชนในประเทศต่างๆ ที่

               เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจ การด าเนินงานของหน่วยงานต่างๆ เหล่านี้ จะพยายามยึดถือพันธกรณีด้าน
               สิทธิมนุษยชนและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศเป็นตัวตั้ง แต่อาจจะมีโครงสร้าง รูปแบบ อ านาจ



               5
                    สถาบันวิจัยและให้ค าปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2559). “บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                   ในการคุ้มครอง การละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน.” ส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.



                                                           2-16
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45