Page 27 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 27
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
2.1.2 โครงการวิจัยเรื่อง “การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและ กระบวนการ
ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามมาตรา 257(1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
2
พุทธศักราช 2550”
โครงการศึกษาวิจัย การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิด
สิทธิมนุษยชนฯ ที่เสนอต่อ กสม. ในรายงานฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะน าข้อมูลที่ได้จากการศึกษามา
ประกอบการพิจารณาก าหนดแนวทางพัฒนาปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนให้มี
ประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถแบ่งประเด็นศึกษาได้เป็น 3 ส่วน คือ สภาพแวดล้อมทั่วไปที่เกี่ยวข้อง บทบาท
การด าเนินการที่ผ่านมา และบทบาทที่ควรจะเป็นของ กสม. ในการพัฒนากระบวนการตรวจสอบ
ส่วนแรก แสดงถึงสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบงานตรวจสอบการละเมิด
สิทธิมนุษยชน แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ สภาพแวดล้อมต่างประเทศและในประเทศ เมื่อพิจารณากรณีศึกษา
ของหน่วยงานต่างประเทศ พบประเด็นกระบวนการท างานและตรวจสอบการละเมิดสิทธิที่ส าคัญ ดังนี้
1. การบริหารจัดการของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เปิดให้มีการยื่นเรื่องโดยวิธีลับ
มีกลไกพิเศษในการติดตามแก้ไขปัญหารายประเด็น โดยท างานควบคู่กับคณะมนตรีความมั่นคงฯ
มีการชี้น าประเด็นปัญหา เพื่อผลักดันให้แต่ละประเทศได้ตระหนักถึงการออกนโยบายปกป้อง
สิทธิมนุษยชน
2. การบริหารจัดการของศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป มีการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญมาด าเนินการ
ไกล่เกลี่ยประนีประนอมโดยเฉพาะโดยท าเป็นความลับ มีคณะกรรมการคอยควบคุมให้เกิดการ
ปฏิบัติตามและเน้นการเปิดเผยอย่างโปร่งใสในทุกขั้นตอน (รับเรื่อง ตรวจสอบ พิจารณา)
3. การบริหารจัดการของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งประเทศอินเดีย เน้นบทบาทผู้พิพากษา
โดยท างานร่วมกับกระบวนการศาล เน้นความรวดเร็วในการช่วยเหลือและพิจารณารับเรื่อง
(จัดการปัญหาเร่งด่วนภายใน 24 ชม.) ผ่านความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ และมีขั้นตอนการ
เจรจาไกล่เกลี่ยเบื้องต้นก่อนรับเรื่องเพื่อไม่ต้องเสียเวลาเข้าสู่กระบวนการด าเนินงาน
4. การบริหารจัดการของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งประเทศอินโดนีเซีย เน้นการสร้างความ
ร่วมมือและเปิดรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอก และผลของการไกล่เกลี่ยจะมีผลผูกพัน
ตามกฎหมาย
2 ศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ. (2556).
“การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257(1)
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550.” ส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.
2-5