Page 31 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 31

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


                       2.  แผนงานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน  (protecting  function) โดยการท างานลักษณะกึ่งตุลาการ

               ในการจัดเก็บ ตรวจสอบ ติดตาม ไกล่เกลี่ย และเผยแพร่ผลการวินิจฉัยอย่างเป็นระบบ โดยบุคลากรที่ผ่านการ
               ฝึกอบรม


                       3.  แผนงานการให้ค าปรึกษาด้านสิทธิมนุษยชน (advisory function) ไม่ว่าจะเป็นการใช้อ านาจของ
               ตนเองหรือจากการร้องขอของหน่วยงาน รวมถึงการให้ค าแนะน ากับภาครัฐที่มีอ านาจ อันจะน าไปสู่การปฏิบัติ

               ที่เหมาะสม

                       4.  แผนงานการเฝ้าระวังสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (monitoring function) ผ่านการด าเนินงานใน

               4 ประเด็นหลัก คือ การเฝ้าระวัง ติดตามและให้ข้อเสนอแนะสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศ   การเฝ้า

               ระวังปัญหาสิทธิมนุษยชนเฉพาะเรื่อง  การเฝ้าระวังสถานที่กักขังให้เป็นไปตามมาตรฐานระหว่างประเทศ และ
               การเฝ้าระวัง ติดตามการด าเนินงานของหน่วยงานในประเทศ แล้วน าเอาผลลัพธ์ทั้ง 4 ด้านมาศึกษาวิจัยและ

               เผยแพร่เพื่อที่จะเป็นแรงกดดันให้หน่วยงานภาครัฐได้ด าเนินการแก้ไขตามข้อเสนอแนะต่อไป


                       5.  แผนงานการท างานร่วมกับผู้ที่มีส่วนได้เสียและองค์กรอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ (relationship
               with stakeholders and other bodies)  กสม. ควรด าเนินการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกด้วย

               ความเป็นกลาง และมุ่งเน้นที่จะเสนอจุดยืนที่อยู่บนพื้นฐานสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด

                       นอกจากนี้ รายงานการศึกษาวิจัยฉบับนี้ยังมีข้อเสนอแนะให้กับสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ว่าควร

               ด าเนินงานโดยรักษาความสมดุล (balance) ของการปฏิบัติหน้าที่อย่างเหมาะสม พยายามส่งเสริมการเจรจา

               การจัดตั้งและขยายตัวของกลไกการสร้างสันติภาพต่างๆ เพื่อให้การด าเนินการตามบทบาททั้ง 5 ด้านเกิด
               ประสิทธิภาพมากขึ้น  และการปฏิบัติงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรมีแนวทางการด าเนินงาน

               เพิ่มเติม คือ ควรมีการประชาสัมพันธ์เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจให้แก่เจ้าหน้าที่เพื่อเป็นการรักษามาตรฐาน

               ให้เป็นไปตามขีดความสามารถขององค์กรอย่างสมบูรณ์

                       โครงการศึกษาวิจัยเรื่อง “มาตรฐานและแนวทางการด าเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ”

               ได้ให้บทเรียนที่ส าคัญผ่านการน าเสนอกลยุทธ์แผนงานที่เป็นไปตามมาตรฐานสากลทั้ง 5 ด้าน รวมทั้งข้อเสนอ
               เพิ่มเติมที่จะเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้คณะผู้วิจัยยังพบปัจจัยท้าทาย

               และประเด็นโอกาสที่ส าคัญจากการทบทวนวรรณกรรมฉบับนี้ ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบส าคัญที่ กสม. ควร

               ค านึงถึงอันจะช่วยให้การปฏิบัติงานเกิดประสิทธิภาพ โดยปัจจัยท้าทายที่จะเป็นตัวสนับสนุนการด าเนินงาน
               ของ กสม. ได้แก่  1. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ท าให้ผู้ร้องเรียนสามารถเข้าถึง กสม. ได้โดยง่าย (สถานที่

               และการเดินทางที่เข้าถึงง่าย)  2. การก าหนดโครงสร้างการบริหารจัดการองค์กรที่เหมาะสมและเป็นระบบ

               (โครงสร้างองค์กร อ านาจหน้าที่ การวางแผนกลยุทธ์ การจัดการความรู้ การจัดการทรัพยากรบุคคล)  และ
               3. การมีทรัพยากรทางการเงิน (งบประมาณ) และกระบวนการจัดการทางการเงินที่เหมาะสม (ก าหนด

               หลักเกณฑ์และวิธีการจัดท างบประมาณจากรัฐบาล กระบวนการบริหารการเงินอย่างอิสระ)





                                                           2-9
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36