Page 24 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 24
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
2.1.1 โครงการวิจัยเรื่อง “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการตรวจสอบ การละเมิด
1
สิทธิมนุษยชนในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน”
รายงานโครงการศึกษาวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ เพื่อแสดงให้เห็นถึง
สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง บทบาทการด าเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของหน่วยงานต่างๆ และบทบาทที่ควรจะ
เป็นของ กสม.
ในส่วนแรก สภาพแวดล้อมด้านสิทธิมนุษยชน เมื่อปล่อยให้ภาคเอกชนด าเนินธุรกิจอย่างเสรีก็จะมี
บุคคลหนึ่งที่สามารถแสวงหาผลประโยชน์จากอีกกลุ่มมากเกินไปจนเหมือนจะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
แม้ว่านายจ้างและลูกจ้างสามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์ของตนได้เหมือนกัน แต่เมื่อพิจารณาถึงลักษณะคู่สัญญา
ผู้ว่างงานที่มีฐานะอ่อนแอกว่าจะไม่มีอ านาจต่อรอง จึงจ าเป็นต้องยอมรับเงื่อนไขที่นายจ้างก าหนด ภาคสังคม
จึงเรียกร้องให้รัฐเข้ามามีบทบาทในการเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น (โดยให้อ านาจ กสม. ในการตรวจสอบ)
ต้องจัดการให้ผู้ที่มีฐานะที่อ่อนแอกว่าได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายและมีสิทธิเสรีภาพในความเป็นจริง ใน
ระยะหลังมีเรื่องร้องเรียนหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการกระท าของเอกชนด้วยกัน จึงมีการตั้งประเด็นอ านาจใน
การตรวจสอบของ กสม. เป็นอย่างไร สามารถกระท าได้หรือไม่ โดยการกระท าดังกล่าวต้องมีกฎหมายที่ให้
อ านาจและต้องท าภายใต้ขอบเขตที่กฎหมายก าหนดเท่านั้น และเมื่อพิจารณาในประเด็นต่างประเทศ พบว่า
องค์การสหประชาชาติเป็นองค์กรที่มีบทบาทในการศึกษา แนะน า ปกป้องสิทธิมนุษยชนและมีแนวทางที่ท าให้
การด าเนินการตามหลักสิทธิมนุษยชนเป็นไปตามกฎบัตรสหประชาชาติและปฏิญญาสากลว่าด้วย
สิทธิมนุษยชนผ่านข้อตกลงระหว่างประเทศต่างๆ เช่น กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม
และวัฒนธรรม อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติ เป็นต้น นอกจากนี้เมื่อพิจารณาประเทศต่างๆ ใน
ภาพรวม พบว่า ส่วนใหญ่ประเทศต่างๆ ให้ความส าคัญกับการตรากฎหมายเพื่อส่งเสริม คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ
เป็นการเฉพาะตามหลักการปารีส ตั้งองค์กรเฉพาะเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนโดยยึดหลักการ
แสวงหาข้อยุติฉันมิตรผ่านการเจรจาไกล่เกลี่ย และการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรคุ้มครองสิทธิฯ โดยทั่วไปจะมุ่ง
ตรวจสอบที่การกระท าของบุคคลเป็นหลัก ไม่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขตัวบุคคล ดังนั้นประเด็นสิทธิมนุษยชนย่อมต้อง
ได้รับการเคารพทั้งจากองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน
ในส่วนที่สอง แสดงถึงบทบาทการด าเนินการคุ้มครองด้านสิทธิมนุษยชน องค์กรต่างๆ ในประเทศไทย
ได้ด าเนินการคุ้มครองสิทธิฯ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ที่ได้
ก าหนดองค์กรคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ องค์กรตุลาการและองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
และแบ่งประเภทขององค์กรที่ให้ความคุ้มครองสิทธิเป็น 4 ประเภท คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่าย
ตุลาการและองค์กรเฉพาะด้านคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
1
รศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ และคณะ. (2558). “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการตรวจสอบการละเมิดสิทธิ
มนุษยชนในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน.” ส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.
2-2