Page 32 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 32

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


                       นอกจากนี้คณะผู้วิจัยยังพบว่า การมีเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมที่เหมาะสมถือเป็นอีกหนึ่ง

               ปัจจัยเอื้อที่ส าคัญ ที่ช่วยให้การด าเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนมีประสิทธิภาพมากขึ้น


                                                                                                     4
                       2.1.4 โครงการวิจัยเรื่อง “มาตรฐานสากลในการด าเนินธุรกิจเพื่อการเคารพสิทธิมนุษยชน”

                       การจัดท ารายงานการศึกษาวิจัยเรื่องมาตรฐานสากลในการด าเนินธุรกิจเพื่อการเคารพสิทธิมนุษยชน

               ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษา รวบรวมและวิเคราะห์มาตรฐานสากลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
               กับการด าเนินธุรกิจโดยเคารพสิทธิมนุษยชน 2. เพื่อใช้ในการจัดท าข้อเสนอแนวทางการปฏิบัติตาม

               มาตรฐานสากลในการด าเนินธุรกิจเพื่อการเคารพสิทธิมนุษยชน โดยสามารถแบ่งประเด็นการศึกษาได้เป็น 4

               ส่วนส าคัญ ได้แก่ สถานการณ์โดยทั่วไป มาตรฐานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของภาคธุรกิจประเภทต่างๆ
               สภาพปัญหาในการบังคับใช้ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย


                       ในส่วนแรกที่อธิบายสถานการณ์โดยทั่วไป สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ สถานการณ์โดยทั่วไป
               ของต่างประเทศและในประเทศไทย โดยสถานการณ์ทั่วไปในต่างประเทศ พบว่า ในปัจจุบันหน่วยงานระหว่าง

               ประเทศต่างๆ เริ่มให้ความส าคัญกับประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากภาคธุรกิจมากขึ้น ผ่านการสร้าง

               บรรทัดฐานสากลและหลักปฏิบัติต่างๆ ที่ภาคธุรกิจสามารถน าไปปรับใช้ในการด าเนินงานได้ ภาคธุรกิจมีความ
               ตระหนักและตื่นตัวต่อการป้องกันปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนเพิ่มขึ้นดังจะเห็นได้จากการให้ความส าคัญใน

               การจัดท าแนวทางปฏิบัติหรือมาตรฐานทางธุรกิจกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง   และองค์กรภาค

               ประชาสังคมเริ่มเข้ามามีบทบาทส าคัญในการกดดันให้ภาคธุรกิจด าเนินงานโดยเคารพมาตรฐานระหว่าง
               ประเทศที่ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเป็นส าคัญ


                       ส่วนสถานการณ์ทั่วไปในประเทศไทย พบว่า หน่วยงานต่างๆ ในประเทศได้ให้ความส าคัญกับประเด็น

               การเคารพสิทธิมนุษยชนในการประกอบธุรกิจมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการจัดท ามาตรฐานความรับผิดชอบ
               ของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคมผ่านการประเมินการส่งเสริมสถานประกอบการสร้างความรับผิดชอบ

               ต่อสังคมอย่างยั่งยืน (Corporate Social Responsibility : Department of Industrial Works: CSR-DIW)

               โดยกรมโรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม และเมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์การร้องเรียนเรื่องการละเมิดสิทธิ
               มนุษยชนในประเทศไทย พบว่า สถิติเรื่องร้องเรียนต่อ กสม. ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิแรงงาน

               และชุมชน โดยมักจะเกิดขึ้นกับโครงการพัฒนาเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เช่น กรณีบริษัทนายจ้างประกาศเลิกจ้าง

               แรงงานโดยไม่มีการเจรจาต่อรองกับสหภาพแรงงาน การด าเนินธุรกิจของบริษัทพลังงานที่กระทบต่อการ
               ประกอบอาชีพของชุมชนและปัญหาการค้ามนุษย์ในภาคประมง การจัดท ามาตรฐานทางสิทธิมนุษยชนของ







               4
                   สถาบันวิจัยและให้ค าปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2559).  “มาตรฐานสากลในการด าเนินธุรกิจเพื่อการ
                   เคารพสิทธิมนุษยชน.” ส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.



                                                           2-10
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37