Page 26 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 26
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
และควรด าเนินการตรวจสอบข้อร้องเรียนตามอ านาจหน้าที่ที่ยึดหลักการแสวงหาข้อยุติฉันมิตร ผ่านการเจรจา
ไกล่เกลี่ย ซึ่งสามารถจ าแนกบทบาทที่ควรจะเป็นของ กสม. ออกได้เป็น 5 ประเด็น ดังต่อไปนี้
1. การใช้มาตรฐานสากลและพัฒนากลไกการบริหารจัดการ ควรมุ่งเน้นก าหนดบทนิยามและ
ขอบเขตอ านาจหน้าที่ของ กสม. ในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิฯ ในความสัมพันธ์ระหว่าง
เอกชนให้ชัดเจน สื่อสารกับภาคสังคมเพื่อลดข้อโต้แย้งเรื่องอ านาจหน้าที่ และเพื่อให้ประชาชน
สามารถทราบถึงอ านาจหน้าที่ของ กสม. ที่ถูกต้อง
2. การปรับปรุงบทบาทของ กสม. ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยก าหนดอ านาจหน้าที่ให้สามารถให้
ค าแนะน า ข้อคิดเห็นหน่วยงานได้โดยตรงเพื่อก าหนดเป็นนโยบาย และภาครัฐควรให้อ านาจแก่
กสม. ในการด าเนินการแก้ไขเรื่องเร่งด่วนได้ทันท่วงที เมื่อเห็นว่าเป็นประเด็นปัญหาที่ส าคัญและ
เกิดขึ้นต่อเนื่อง
3. การพัฒนากลไกการบริหารจัดการที่ต้องมีการติดตามประเมินผลทั้งจากผู้ประเมินภายในและ
ภายนอก เพื่อที่จะเป็นประโยชน์ในการขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม
4. การส่งเสริมการให้ความรู้กับผู้มีแนวโน้มถูกละเมิดสิทธิฯ ผ่านการจัดตั้งส านักงาน กสม. สาขา
ต่างๆ ในต่างจังหวัด
5. การปลูกจิตส านึกสร้างความตระหนักโดยเริ่มตั้งแต่เยาวชน เพื่อให้เห็นถึงคุณค่าของหลักการของ
สิทธิมนุษยชน (ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ การไม่เลือกปฏิบัติและความเท่าเทียม) เพื่อ
สร้างค่านิยมในประเด็นเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง
รายงานการศึกษาวิจัยเรื่อง “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการตรวจสอบการละเมิด
สิทธิมนุษยชนในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน” ได้ให้บทเรียนผ่านการน าเสนอสภาพแวดล้อม บทบาท
ที่ผ่านมาของ กสม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิมนุษยชนทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งยังได้ให้
ข้อเสนอแนะบทบาทที่ กสม. ควรจะมีการด าเนินงานในอนาคตผ่านประเด็นต่างๆ นอกจากนั้น ยังมีการ
น าเสนอประเด็นข้อท้าทายที่ กสม. ควรค านึงถึง และมีแนวทางเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นการรับมือไม่ให้เกิด
ปัญหาในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในภาคธุรกิจเอกชนขึ้น โดยมีประเด็นอุปสรรคที่ส าคัญ คือ เรื่องปัญหา
ความรู้ความเข้าใจที่จ ากัดของประชาชนและภาคธุรกิจในเรื่องขอบเขตอ านาจหน้าที่และการปฏิบัติงานของ
กสม.
2-4