Page 23 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 23
บทที่ 2 บทบาทของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่
เป็นอยู่
เกริ่นน า
ในการจัดท าแผนกลยุทธ์ฯ ต้องการข้อมูลพื้นฐานที่ส าคัญเพื่อประกอบการวิเคราะห์ ซึ่งหนึ่งในข้อมูลที่
ส าคัญก็คือ บทบาทของ กสม. ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยในบทนี้ จะท าการประมวลบทบาทของ กสม. ที่เป็นอยู่
ผ่านการทบทวนวรรณกรรมและเอกสาร รวมทั้งการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อน าไปสู่การประมวลบทบาทที่
เป็นอยู่ผ่าน 3 แผนหลัก อันได้แก่ แผนการปลูกฝัง แผนการคุ้มครอง และแผนการพัฒนาองค์กร รวมทั้ง
สังเคราะห์บทเรียนในประเด็นอื่นๆ ที่มีส่วนส าคัญในการก าหนดแผนกลยุทธ์ฯ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
2.1 บทบาทของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผ่านการทบทวนวรรณกรรมและ
เอกสาร
ภารกิจหลักของ กสม. คือ การเข้าไปตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
ที่เป็นผลกระทบจากการกระท าของรัฐเป็นส าคัญ อย่างไรก็ดี ปัญหาดังกล่าวไม่ได้เกิดเฉพาะแต่กรณีการใช้
อ านาจรัฐเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นโดยภาคธุรกิจอีกด้วย ในการด าเนินการกับภาคเอกชนที่ผ่านมา กสม. ยังไม่เคย
มีการจัดท าข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาไปยังหน่วยงานเอกชนแต่อย่างใด แต่จะเป็นไปในรูปแบบของการขอ
ความร่วมมือเพื่อให้ชี้แจงข้อเท็จจริง หรือเชิญบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย
มากกว่า นอกเหนือจากการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน กสม. ยังมีบทบาทที่ส าคัญในประเด็น
สิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจ คือ การท าโครงการวิจัยให้ความรู้ต่อสาธารณะ ตลอดจนน าองค์ความรู้
เหล่านั้นมาจัดเป็นกิจกรรมน าร่องให้กับภาคเอกชนและผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อสร้างวัฒนธรรมการเคารพ
สิทธิมนุษยชนของภาคธุรกิจ โดยที่ผ่านมา กสม. ได้ด าเนินการในโครงการเฉพาะประเด็นสิทธิมนุษยชนและ
การประกอบธุรกิจ ดังนี้
2-1