Page 223 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 223
บทที่ 5 แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-
2562
เกริ่นน า
ในบทนี้จะเป็นการสังเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดที่มีตั้งแต่บทที่ 1-4 เพื่อจัดท าแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและ
สิทธิมนุษยชนของ กสม. พ.ศ. 2560-2562 โดยในบทนี้จะได้น าเสนอข้อมูลและสาระส าคัญเพื่อให้แผนฯ มี
ความสอดคล้องร่วมกับแผนยุทธศาสตร์ของ กสม. พ.ศ. 2560-2565 และแผนพัฒนาประเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
5.1 ช่องว่างบทบาทของ กสม. ที่ควรจะเป็น
จากการส ารวจทั้งจากการทบทวนวรรณกรรม การสัมภาษณ์ การจัดประชุมกลุ่มย่อยทั้ง 4 ครั้ง และ
การวิเคราะห์ช่องว่าง พบว่าบทบาทที่ผ่านมาของ กสม. ต่อประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนกับภาคส่วนต่างๆ ไม่ว่า
จะเป็นกับภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนทั่วไป ภาคภาคีแนวร่วมที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการพัฒนาองค์กร
กสม. คณะผู้วิจัยพบว่า ที่ผ่านมานั้น กสม. ท างานทั้งในด้านการปลูกฝัง คุ้มครองและเยียวยา และการพัฒนา
องค์กรได้ดีในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม กสม. ยังคงมีช่องว่างที่จะยกระดับคุณภาพการท างานของ กสม. เพื่อ
แก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการประกอบธุรกิจ พร้อมทั้งขับเคลื่อนประสิทธิภาพภายในองค์กรอยู่
ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เพราะ กสม. ยังขาดปัจจัยอยู่หลายประการ ไม่ว่าจะเป็นภาพลักษณ์ที่ภาคส่วนต่างๆ มอง
กสม. ในแง่ลบท าให้บางครั้งไม่ได้รับความร่วมมืออย่างเต็มที่ อีกทั้ง บุคลากรภายในของ กสม. ยังมีความเข้าใจ
ในหลักการสากลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจและสิทธิมนุษยชนอย่างจ ากัด รวมทั้งยังพบปัญหาการ
ตระหนักถึงความเชื่อมโยงระหว่างการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคธุรกิจน ามาซึ่งการละเมิดสิทธิฯ ในประเด็น
อื่นๆ ที่ตามมาได้อย่างไร ท าให้การท างานขับเคลื่อนประเด็นดังกล่าวได้รับการแก้ไขอย่างล่าช้า และท าให้
ความเสียหายอันเกิดแก่ผู้ได้รับผลกระทบยังคงมีอยู่ ทั้งนี้ แนวทางที่ กสม. จะพัฒนาและแสวงหากลไกเพื่อ
ตอบสนองกับประเด็นปัญหานี้ คณะผู้จัดท าจึงได้เสนอให้ กสม. เสริมบทบาทของตนให้มากขึ้นในแต่ละภาค
ส่วนซึ่งมีสาระส าคัญดังนี้
5.1.1 กสม. กับภาครัฐ
คณะผู้วิจัยได้ประเมินช่องว่างในส่วนของการท างานกับภาครัฐ พบว่า กสม. ได้มีการด าเนินการที่
เกี่ยวข้องกับภาครัฐอย่างครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็น 1) การสนับสนุนภาครัฐให้จัดท าแผนปฏิบัติการระดับชาติ
(NAP) 2) การให้ข้อเสนอแนะการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้กับภาครัฐ ภายหลังการตรวจสอบข้อร้องเรียนการ
ละเมิดสิทธิ และ 3) การสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐเพื่อดูแลและจัดการปัญหา อย่างไรก็ดี กสม.
ยังคงมีช่องว่างในการพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น โดย กสม. สามารถที่จะด าเนินการได้ดังนี้
5-1