Page 197 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 197
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
ที่เกี่ยวข้อง อาทิ สํานักงานสวัสดิการและคุ้มแรงงานจังหวัดลพบุรี สํานักงานจัดหางานจังหวัดลพบุรี กองรักษา
ความมั่นคงภายในจังหวัดลพบุรี ฯลฯ พร้อมด้วยภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ตรวจแรงงานในฟาร์มไก่เพื่อมุ่งยกระดับ
15
การจัดการด้านแรงงานในอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ และป้องกันปัญหาค้ามนุษย์เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2559
ภายหลังการตรวจเยี่ยมฟาร์มพบว่าจังหวัดลพบุรี มีการเลี้ยงไก่ แปรรูปไก่มากที่สุดในประเทศไทย มี
ไก่แปรรูปส่งออกต่างประเทศ ซึ่งหากมีประเด็นปัญหาที่แสดงว่าการประกอบกิจการอุตสาหกรรมสัตว์ปีกยัง
ขาดมาตรฐาน ไม่เป็นมาตรฐานสากลด้านแรงงานหรือมีการค้ามนุษย์ ก็จะถูกต่อต้านจากประเทศผู้รับซื้อ จาก
การตรวจเรื่องของกฎหมาย เรื่องการคุ้มครองแรงงานเป็นไปตามกฎหมาย บริษัทที่มีการตรวจสอบนี้เป็น
คอนแทร็คฟาร์มของบริษัทใหญ่ ซึ่งบริษัทใหญ่ได้ดูแลและให้คําแนะนําตามนโยบายมาโดยตลอด โดยในจังหวัด
ลพบุรี มีผู้ประกอบการประมาณ 200 กว่าราย ซึ่งได้เชิญผู้ประกอบการรายใหญ่มาประชุมชี้แจงทําความเข้าใจ
ถึงความสําคัญในการเคารพสิทธิมนุษยชน ซึ่งผู้ประกอบการรายใหญ่เข้าใจมากขึ้นโดยรู้ว่าธุรกิจสมัยใหม่มี
ความเกี่ยวเนื่องกันทั่วโลก กติกาสากลเป็นเรื่องสําคัญ ส่วนคอนแทร็คฟาร์มมีอยู่ 200 – 300 แห่ง และควรที่
จะต้องดําเนินการให้ความรู้ที่เหมาะสมต่อไป เพราะหากผิดพลาดขึ้นมาจะกระทบภาพรวมของทั้งจังหวัด
ดังนั้น ชุดบูรณาการฯ จึงต้องพากันออกไปตรวจให้คําแนะนํา และมีการดําเนินคดีหากกระทําการผิดกฎหมาย
ตลอดจนหารือร่วมกันกับผู้ประกอบการให้ทราบถึงเรื่องหลักเกณฑ์เหล่านี้และให้ความร่วมมือกับภาครัฐต่อไป
ในส่วนของบริษัทนั้นได้ตระหนักถึงความสําคัญในการยกระดับการจัดการด้านแรงงานของ
อุตสาหกรรมอาหาร จึงมีนโยบายในการควบคุมให้ทุกบริษัทในเครือและตลอดจนห่วงโซ่อุปทาน (supply
chain) ที่เกี่ยวข้อง มีการจัดการเรื่องแรงงานโดยยึดหลักความถูกต้อง ปฏิบัติตามมาตรฐานแรงงานอย่างถูก
กฎหมาย มีวิธีการปฏิบัติต่อแรงงานที่ดีและเท่าเทียมกันทุกเชื้อชาติ ตามหลักจริยธรรมสากล ซึ่งดําเนินการมา
เป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว และเพื่อยกระดับมาตรฐานแรงงานให้มีมาตรฐานเดียวกันอย่างเป็นรูปธรรม จึงกําหนด
“มาตรฐานแรงงานเบทาโกร” หรือ BLS (BETAGRO Labor Standard) ขึ้น โดยประกาศเริ่มดําเนินการกับ
ทุกบริษัทในเครือ เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2558 และขยายไปสู่เกษตรกรคู่สัญญาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.
2558 ที่ผ่านมา โดยมีหน่วยงานภาครัฐร่วมดําเนินการด้วย
ทั้งนี้ มาตรฐานแรงงานของบริษัท หรือ BLS ไม่เพียงแต่สอดคล้องกับกฎหมายแรงงานไทย
มาตรฐานสากลด้านสิทธิมนุษยชน และแรงงานสัมพันธ์ ยังมีเป้าหมายที่จะผลักดันมาตรฐานการจัดการ
แรงงานให้ดียิ่งขึ้นไปในอนาคต การดําเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐาน BLS ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ได้แก่
การจัดอบรม เตรียมความพร้อมทีมงานที่ปรึกษาภายในเครือของบริษัท การจัดอบรมให้ความรู้และความเข้าใจ
แก่เกษตรกรคู่สัญญา การติดตามความคืบหน้า รวมถึงมีระบบตรวจสอบทั้งจากภายในเครือฯ (internal
audit) และจากภายนอก (external audit) เช่น ลูกค้า ภาคราชการ ตลอดจนหน่วยงานที่เชื่อถือได้ในระดับ
15
มติชนออนไลน์. (2559). “รองผู้ว่าฯ ลพบุรี จับมือเบทาโกร ตรวจแรงงานในฟาร์มไก่.” [ระบบออนไลน์].แหล่งที่มา
http://www.matichon.co.th/news/2443711
4-50