Page 195 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 195
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
4.2 กรณีศึกษาผลกระทบกรณีศึกษาในประเทศจากปัญหาด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน
กรณีละเมิดสิทธิแรงงานฟาร์มไก่ในห่วงโซ่อุปทาน
เมื่อวันที่ 7 ก.ค. 2559 เครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ (MWRN) และตัวแทนแรงงานข้ามชาติพม่า
อดีตลูกจ้างฟาร์มไก่แห่งหนึ่งในจังหวัดลพบุรี จํานวน 14 คน เดินทางไปยื่นหนังสือร้องเรียนต่อ กสม. กรณี
ขอให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในธุรกิจอุตสาหกรรมสัตว์ปีกประเทศไทยมีพฤติการณ์การละเมิดสิทธิ
มนุษยชนของแรงงานข้ามชาติอันอาจจะเข้าข่ายพฤติการณ์การจ้างงานในสภาพที่เลวร้ายหรือไม่ เนื่องจาก
ข้อมูลจากลูกจ้างชาวพม่าให้การว่าตนต้องทํางานในฟาร์มไก่ตั้งแต่ 7.00-17.00 น.และต้องทํางานอีกครั้งใน
เวลา 19.00-05.00 น. ของอีกวัน โดยได้ค่าจ้างเพียง 230 บาทต่อวัน มีการหักค่าเช่าห้องพักอีกคนละ 1,600
บาท หักค่าน้ํา-ค่าไฟ ไม่มีประกันสังคม และไม่มีค่าล่วงเวลาให้สําหรับช่วงที่ทํางานในเวลากลางคืน แต่จะให้
เป็นเงินพิเศษหากลูกจ้างสามารถทํางานได้ตามเป้าที่นายจ้างวางไว้ รวมถึงยังมีการยึดเอกสารเดินทางของ
ลูกจ้างไว้โดยให้เหตุผลว่าจะรับผิดชอบดูแลเรื่องต่ออายุให้ ทั้งที่ลูกจ้างจําเป็นต้องใช้เอกสารเดินทางใน
ชีวิตประจําวัน ดังนี้ เครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติจึงขอให้ กสม. ตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการละเมิด
สิทธิมนุษยชนของฟาร์มไก่ดังกล่าว และขอให้ กสม. มีข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้อุตสาหกรรม
สัตว์ปีกแห่งประเทศไทยดําเนินกิจการภายใต้หลักการสิทธิมนุษยชนและหลักธรรมาภิบาล รวมถึงเยียวยาความ
เสียหายที่เกิดขึ้นกับแรงงานทั้ง 14 รายนี้โดยเร็วด้วย
ฟาร์มไก่ดังกล่าวจัดจําหน่ายไก่ให้แก่บริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งทางบริษัทมีหลักการทํางานและหลัก
ธรรมาภิบาลต่อบริษัทในห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ให้ปฏิบัติด้านแรงงานตามมาตราฐานที่กฎหมาย
กําหนด มีระบบการตรวจสอบทั้งจากภายในเครือฯ และภายนอก ปรากฏตามสําเนาคําชี้แจงข้อเท็จจริง เรื่อง
เหตุการณ์แรงงานต่างด้าวในฟาร์มไก่ จังหวัดลพบุรี เอกสารที่แนบมาพร้อมนี้ แต่ตลอดระยะเวลาที่บริษัทได้
ดําเนินการตามหลักการและมาตราฐานดังกล่าว กลับไม่ปรากฏว่าพบการละเมิดสิทธิของฟาร์มไก่ดังกล่าว ซึ่ง
เป็นบริษัทในห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ที่มีการกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิหลายปี และรับซื้อสินค้าจากบริษัท
ที่ดําเนินการขัดต่อหลักธรรมาภิบาลและมาตราฐานแรงงานที่เครือของบริษัทกําหนดไว้มาโดยตลอด ซึ่งส่งผล
ให้แรงงานถูกละเมิดสิทธิเป็นเวลานานและเกิดความเสียหายต่อแรงงานเป็นอย่างมาก
ทั้งนี้ ภายหลังที่ได้มีการร้องเรียนต่อ กสม. ก็ปรากฏข้อเท็จจริงว่า แรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าที่
เกี่ยวข้องกับการหาเบาะแสการละเมิดสิทธิในฟาร์มเลี้ยงไก่แห่งนั้น ถูกนายจ้างแจ้งข้อหา ‘ลักทรัพย์นายจ้าง’
และ “รับของโจรและเอาไปซึ่งเอกสารของผู้อื่นในประการที่อาจจะทําให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย’ จากการนํา
บัตรลงเวลาออกมาแสดงเป็นหลักฐานต่อพนักงานตรวจแรงงาน
จากการตรวจสอบของ กสม. และได้มีการออกรายงานผลการตรวจสอบของ กสม. เมื่อวันที่ 31
สิงหาคม 2559 พบว่ามีข้อเท็จจริงรายประเด็นดังนี้
4-48