Page 194 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 194
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
ของการดําเนินธุรกิจตามหลักการความยั่งยืนภายใต้ข้อตกลงแห่งสหประชาชาติ หรือ United Nations
Global Compact 10 ประการ รวมทั้งทําหน้าที่เสริมสร้างความร่วมมือกับองค์กรที่เกี่ยวข้องในการผสาน
ความร่วมมือดําเนินกิจกรรมต่างๆ ตามข้อบังคับของสหประชาชาติ
อย่างไรก็ดี ความใส่ใจของภาคธุรกิจยังคงมีบทบาทด้านสิทธิมนุษยชนที่ไม่ชัดเจน เพราะบรรยากาศ
ของการส่งเสริมและการเคารพสิทธิมนุษยชนยังเป็นเรื่องที่จํากัด โดยภาคธุรกิจดําเนินการแต่เฉพาะประเด็นที่
กฎหมายกําหนดให้ต้องปฏิบัติตาม ในส่วนของการดําเนินการโดยสมัครใจก็จะมุ่งเน้นไปที่การทํา CSR มากกว่า
จะเป็นการเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริง
ในส่วนของบรรษัทข้ามชาติ (Multinational Enterprises - MNEs) ถูกจับตาโดยองค์กรต่างประเทศ
และสื่อซึ่งสามารถสร้างสภาวะกดดันและและบทลงโทษให้กับ MNEs ทําให้ภาคธุรกิจกลุ่มดังกล่าวให้
ความสําคัญด้านสิทธิมนุษยชนมากกว่าธุรกิจอื่นๆ ทั้งนี้ พฤติการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะบรรยากาศของการ
เคารพสิทธิมนุษยชนนั้นเข้มแข็งกว่าผ่านสถาบันกํากับดูแล นักลงทุนที่ลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ ผู้บริโภคที่
ให้ความสําคัญกับประเด็นสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการเผยแพร่และการตรวจสอบอย่างเอาจริงเอาจังของสื่อ
ในส่วนของรัฐวิสาหกิจ มีการจัดตั้งสหภาพแรงงานที่มีความเข้มแข็งซึ่งมีอํานาจต่อรองกับนายจ้างได้
อย่างเป็นธรรมในระดับหนึ่งอยู่แล้ว อย่างไรก็ดี การละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเด็นอื่นๆ เนื่องจากภาครัฐไม่
สามารถที่จะควบคุมการดําเนินการของรัฐวิสาหกิจได้โดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาการละเมิดสิทธิชุมชน
จากการจัดทําโครงการขนาดใหญ่
ภาคประชาสังคม
ภาคประชาสังคม แบ่งออกได้เป็น องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) สื่อสาธารณะและภาควิชาการ
อย่างไรก็ดี องค์กรพัฒนาเอกชนมักจะมีแนวปฏิบัติที่เน้นในสิทธิมนุษยชนรายประเด็นมากกว่าจะดําเนินการให้
ความรู้และรณรงค์ในประเด็นธุรกิจและสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านในทุกๆ มิติ ในขณะที่สื่อสาธารณะจะมี
บทบาทที่สําคัญในการปลูกฝัง ให้ความรู้ความเข้าใจ มีการสื่อสารข้อมูลประเด็นปัญหาในวงกว้าง รวมทั้งพบว่า
มีสื่อบางกลุ่มทําหน้าที่ตรวจสอบประเด็นปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเชิงลึก ภาควิชาการทํางานวิจัยเชิง
ประเด็นเพื่อสนับสนุนการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยทั้ง 3 กลุ่มนี้ในปัจจุบันทํางานประสานร่วมกันได้ดี โดย
ภาควิชาการจะเป็นผู้ป้อนความรู้ให้กับองค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อนําไปสร้างความตระหนักรู้และเพื่อการรณรงค์
กับชุมชน ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือด้านอื่นๆ ในกระบวนการแก้ไขข้อพิพาทระหว่างภาคประชาชนกับ
ภาคธุรกิจ และระหว่างภาคประชาชนกับภาครัฐ และขยายผลต่อสาธารณะโดยผ่านช่องทางสื่อต่างๆ ได้
4-47