Page 192 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 192
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
หน่วยงานหลายหน่วยงาน นอกจากนี้ ยังมีกลไกในระดับชาติที่กํากับดูแล อาทิ องค์กรศาล กสม. และกลไกใน
กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับส่วนกลาง ภูมิภาค และท้องถิ่น รวมถึงกลไกของ
สหประชาชาติที่มีคณะกรรมการแต่ละสนธิสัญญาเข้ามาติดตามตรวจสอบการดําเนินงานให้เป็นไปตาม
พันธกรณีที่ประเทศไทยได้ให้การรับรองไว้
ในส่วนของความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐกับรัฐวิสาหกิจนั้น ภาครัฐในฐานะเจ้าของมุ่งควบคุม
รัฐวิสาหกิจโดยสนับสนุนการพัฒนาด้านความโปร่งใส และกลไกการร่วมรับผิดชอบ มีการกําหนดกฎหมายและ
กฎระเบียบข้อบังคับรัฐวิสาหกิจที่ควรสนับสนุนการแข่งขันอย่างเท่าเทียมกับธุรกิจเอกชนตามกลไกตลาด โดย
ให้อํานาจแก่บอร์ดในการดําเนินกิจการตามหน้าที่ที่กําหนดไว้ โดยรัฐจะจัดตั้งกลไกการตรวจสอบประเมิน
องค์กรโดยบอร์ด และกลไกความรับผิดชอบของบอร์ดในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบและ
ข้อกําหนด
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2559 ได้มีมติรับทราบตามรายงานผลการพิจารณา
คําร้องที่มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เรื่อง สิทธิชุมชนกรณีการดําเนินโครงการท่าเรือน้ําลึกและเขตเศรษฐกิจ
ทวายในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ของบริษัทสัญชาติไทย ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมลงนามในบันทึก
ข้อตกลงในการพัฒนาโครงการดังกล่าว ที่มีการกระทําที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อชาวทวาย ตามที่ กสม. ได้
เสนอไป ซึ่งรัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับกระทรวงพาณิชย์พิจารณาศึกษา
ข้อเสนอแนะตามที่ กสม. เสนอ โดยให้นําหลักการแห่งสหประชาชาติด้านธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน : การปฏิบัติ
ตามกรอบการคุ้มครอง เคารพ เยียวยา (Guiding Principles on Business and Human Rights :
Implementing the United Nations ‘Protect, Respect and Remedy' Framework – UNGP) เพื่อ
นํามาดําเนินการต่อไป
นอกจากนี้ จากการที่ประเทศไทยได้นําเสนอรายงานการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศ
ไทยภายใต้กระบวนการ Universal Periodic Review (UPR) รอบที่ 2 ต่อที่ประชุมคณะทํางาน UPR สมัยที่
25 ที่นครเจนีวา เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2559 โดยคณะผู้แทนไทยนําโดยนายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ
ปลัดกระทรวงได้รับฟังข้อเสนอแนะและตอบชี้แจงคําถามจากประเทศต่างๆ รวม 102 ประเทศ ซึ่งครอบคลุม
ประเด็นสิทธิมนุษยชนที่หลากหลาย อาทิ การปราบปรามการค้ามนุษย์ สิทธิแรงงาน การเสริมสร้างความ
เข้มแข็งของโครงสร้างสิทธิมนุษยชน การคุ้มครองผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก สตรี คนชรา คนต่างด้าว
การบังคับใช้กฎหมายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เสรีภาพในการแสดงความเห็นและการชุมนุม สิทธิในการ
รวมกลุ่ม สิทธิในการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม การจัดการลงประชามติต่อร่างรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ จากข้อเสนอแนะทั้งหมด 249 ข้อ คณะผู้แทนไทยตอบรับทันทีจํานวน 181 ข้อ (คิดเป็นร้อยละ
72.69 เปรียบเทียบกับจํานวนข้อเสนอแนะที่ไทยได้ตอบรับทันทีในการทบทวนรอบแรก ร้อยละ 58.14) อาทิ
การภาคยานุวัติ (Accession) อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ
4-45